สถานการณ์ของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับความรุนแรงของโรค การคลอด และทารกแรกเกิด เขตสุขภาพที่ 2 ปี 2564

Main Article Content

เมทิกา ใหม่หลวงกาศ

บทคัดย่อ

     โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคระบาด ซึ่งการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019


นั้นส่งผลกระทบรุนแรงต่อผู้ติดเชื้อ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหญิงตั้งครรภ์ และหาความสัมพันธ์หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อความรุนแรง ของอาการหญิงตั้งครรภ์ การคลอดและต่อทารกแรกเกิด งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ในเขตสุขภาพที่ 2 เก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 มีนาคม 2564 – 31 ธันวาคม 2564 โดยใช้แบบรายงานหญิงตั้งครรภ์ หลังคลอดภายใน 6 สัปดาห์ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และทารกแรกเกิด ผลการศึกษา หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 444 ราย พบมีปอดอักเสบ/เสียชีวิตร้อยละ 9.68 พบช่วงอายุที่ติดเชื้อ ส่วนใหญ่อายุ 20-30 ปี มีปอดอักเสบ/เสียชีวิต ร้อยละ 4.73 อายุครรภ์พบติดเชื้อส่วนใหญ่อยู่ไตรมาส 3 ช่วงอายุครรภ์ 28-42 สัปดาห์ พบมีปอดอักเสบ/เสียชีวิต ร้อยละ 7.43 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบอายุครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์สัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p = .000) การไม่ได้รับวัคซีน พบมีปอดอักเสบ/เสียชีวิต ร้อยละ 9.46 อายุครรภ์ที่คลอดเฉลี่ย 37.85 สัปดาห์ พบคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ17.16 น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 19.80 พบมีปอดอักเสบ/เสียชีวิต ร้อยละ 3.30

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมควบคุมโรค. มาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2564] เข้าถึงได้จาก:https://ncmc.moph.go.th/home/index.php/index/detail/29762

กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเตอร์เน็ต].2564 สิงหาคม 12 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2564] เข้าถึงได้จาก:https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation /situation-no587-120864.pdf

WHO. (2021). Impact of COVID-19 on people's livelihoods, their health and our food systems.Retrieved July 3, 2021, From https://www.who.int/news/item/impact-of-covid-19-

onpeople's-livelihoods-their-health-and-our-food-systems.

.กรมควบคุมโรค.แนวทางปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลกรณีโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเตอร์เน็ต].2564 เมษายน 17 [เข้าถึงเมื่อ 30 กรกฎาคม 2564] เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-non572-280764.pdf

สํานักนายกรัฐมนตรี. แถลงการณ์สํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนที่ 24 ก.25 มีนาคม 2563.

กรมอนามัย.การขับเคลื่อนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร [อินเตอร์เน็ต].2564 กรกฎาคม 22 [เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฎาคม 2564] เข้าถึงได้จาก: https://hp.anamai.moph. go.th/th/pagegroup-mch/205741/

กรมอนามัย.การดูแลหญิงตั้งครรภ์ หลังคลอดและทารกแรกเกิดภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 [อินเตอร์เน็ต].2564 [เข้าถึงเมื่อ10สิงหาคม 2564]เข้าถึงได้จาก : https://covid19.anamai.moph.go.th

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย.แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศ ไทย เรื่อง การดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่ติดโรคโควิด-19. ฉบับปรับปรุง Version 7 [อินเตอร์เน็ต].2564 ธันวาคม 17 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2565] เข้าถึงได้จาก :http://www.rtcog.or.th/home/wpcontent/uploads/2022/05/OB-63-022version7.pdf

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย.แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรณรงค์ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในสตรีตั้งครรภ์. ฉบับปรับปรุง Version 16 [อินเตอร์เน็ต].2564 สิงหาคม 20 [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2564] เข้าถึงได้จาก:http://www.rtcog.or.th/home7/5252/5252/

Dashraath P, Wong JLJ, Lim MXK, Lim LM, Li S, Biswas A, et al. Coronavirus disease 2019 (COVID-19) pandemic and pregnancy. Am J Obstet Gynecol 2020; 222(6): 521-531. doi:10.1016/j.ajog.2020.03.021.

Hammad, WAB, Beloushi, MA, Ahmed, B, & Konje, JC.(2021). Severe acute respiratory syndrome (SARS) coronavirus-2 infection (COVID-19) in pregnancy - An overview. European journal of obstetrics, gynecology, and reproductive biology, 263, 106–116.

doi.org/10.1016/j.ejogrb.2021.06.001

WHO. (2021). Coronavirus disease (COVID-19): Vaccines. Retrieved July 7, 2021, from https://www.who.int/news-room/q-a-detail/coronavirus-disease-covid-19 vaccines.

Zaigham M,Andersson O, Maternal and perinatal outcomes with COVID 19:A systematic review of 108 pregnancies. Acta Obstet Gyneol Scand2020:10.1111/aogs.13867

Zhenmin, L.(2020).Message on COVID-19 from USG. United Nations. Retrievrd April 22,2020,from http://www.un.org/development/desa/statement/mr-liu/2020/03/mesage-on-covid-19/

Report of the WHO-China Joint Mission on Coronavirus Disease 2019(COVID-19) – China [Internet].ReliefWeb.[cited 2021 Dec 9].Available from:https://relifweb.int/report/china/report-who-china-joint-mission-coronavirus-disease-2019-COVID-19