การสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ โรงเรียนประจำแห่งหนึ่ง อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม - 7 กันยายน 2565
Main Article Content
บทคัดย่อ
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 ทีมตระหนักรู้สถานการณ์ (SAT) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบ้านด่านลานหอย พบผู้ป่วยกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ณ โรงเรียนประจำแห่งหนึ่ง อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย จึงดำเนินการสอบสวนโรค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัย ยืนยันการระบาด ศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการระบาด และหาแนวทางการควบคุมโรค กำหนดนิยามในการค้นหา คือ นักเรียน ครู/อาจารย์ หรือเจ้าหน้าที่ ของโรงเรียนประจำแห่งหนึ่ง อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ที่มีประวัติไข้ ร่วมกับอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ได้แก่ ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีเสมหะ มีน้ำมูก และอ่อนเพลีย ระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม - 13 กันยายน 2565 ดำเนินการศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการระบาด ผลการศึกษาพบผู้ป่วยเข้าได้ตามนิยาม 39 ราย (Attack rate = 26.00%) ไม่มีผู้เสียชีวิต การเกิดโรคในครั้งนี้เป็นการระบาดแบบแหล่งโรคร่วม (common source) พบว่าปัจจัยเสี่ยง คือ พักในหอพักเดียวกัน และปีพ.ศ. 2565 ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ใช้สิ่งของร่วมกัน และทำกิจกรรมร่วมกันในโรงเรียน จากผลการสอบสวนจึงกำหนดมาตรการให้แยก ผู้ที่มีอาการออกจากผู้ที่ไม่มีอาการ เปลี่ยนรูปแบบการทำกิจกรรมร่วมกัน เน้นสุขอนามัยส่วนบุคคล และกำหนดให้มีการคัดกรองอาการของนักเรียนทุกวัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
พรทิพภา เล็กเจริญสุข. ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ และ ไวรัสไข้หวัดใหญ่สุกร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ภาควิชาจุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกัน; 2557.
World Health Organization. Global influenza strategy 2019-2030 [online]. [cited 2022 Oct 6]. Available from: URL: https://apps.who.int/iris/handle/10665/311184.
ภาวพันธ์ ภัทรโกศล และประเสริฐ ภัทรโกศล. ไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก. กรุงเทพฯ : สมาคมไวรัสวิทยา ประเทศไทย ; 2549.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 โรค influenza [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2565]; เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/506wk/y61/d15_3361.pdf.
ศศิกัญชณา แจ่มจันทร์ และคณะ. รายงานการสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A สายพันธุ์ H3N2 ณ เรือนจำแห่งหนึ่ง จังหวัดลพบุรี เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2562. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4 2564 ; 2: 1.
กัญญาภัค ศิลารักษ์ และคณะ. การสอบสวนการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A/H1N1 2009 ในทหารใหม่กองร้อยอาวุธเบา ค่ายทหารแห่งหนึ่ง จังหวัดยโสธร เดือนพฤษภาคม 2560. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2560, 48: 817-824.
สาริกข์ พรหมมารัตน์, สุประวีณ์ กันทะวงค์ และกิตติพันธ์ ฉลอม. การสอบสวนโรคไข้หวัดใหญ่ในค่ายโครงการศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2563, 17: 1-11.