การประเมินประสิทธิผลการพ่นสารเคมีควบคุมยุงลาย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตสุขภาพที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการประเมินผล มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลการพ่นสารเคมีในการควบคุมยุงลายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตสุขภาพที่ 2 ปี 2563 โดยคัดเลือกหมู่บ้านที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกติดต่อกัน 5 ปี (ปี 2558-2562) ทำการประเมินประสิทธิผลคนพ่นโดยสังเกตและบันทึกในแบบบันทึกข้อมูล ทดสอบประสิทธิผลการพ่นเคมีโดยวิธี Bioassay test ผลการศึกษาพบว่า เจ้าหน้าที่พ่นสารเคมี ตำแหน่งลูกจ้าง ร้อยละ 100.00 มีประสบการณ์พ่นสารเคมีมากกว่า 5 ปี ร้อยละ 66.67และไม่เคยเข้ารับการอบรมการพ่นสารเคมี ร้อยละ 100.00 ส่วนใหญ่เรียนรู้จากพี่เลี้ยงสอนงานทักษะการพ่นเคมี พบว่าสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ยกเว้นการจัดการสารเคมีที่เหลือพ่นในถังปฏิบัติถูกต้องร้อยละ 66.67 การป้องกันตนเอง พบว่าไม่ใส่หน้ากาก แว่นตาสำหรับป้องกันสารเคมี ถุงมือยาง ไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง ไม่ใส่รองเท้าบูท ร้อยละ 100.00 ประสิทธิผลการพ่นเคมีในหมู่6 ตำบลแสนตอ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ หมู่ 9 ตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ และหมู่ 2 ตำบลแม่ระมาด อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก พบว่าอัตราการตายของยุงลายที่ 24 ชั่วโมง เท่ากับร้อยละ 98.89 ร้อยละ 60.00 และร้อยละ 99.20 ตามลำดับ แสดงว่าจังหวัดอุตรดิตถ์ และตาก การพ่นเคมีมีประสิทธิผลในระดับสูง จังหวัดเพชรบูรณ์ การพ่นสารเคมียังไม่มีประสิทธิผลมากพอจากการศึกษาพบว่า เนื่องจากพ่นสารเคมีไม่ทั่วถึงบริเวณที่ทำการทดสอบ และบ้านส่วนใหญ่ค่อนข้างเปิดโล่ง ไม่สามารถปิดอบสารเคมีได้จึงทำให้ไม่สามารถกำจัดยุงลายได้อย่างครอบคลุม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
สุพรรณ สายหลักคำ, เจริญศักดิ์ แก้วหานาม, พรพิมล ขันภักดี, ศิริรัตน์ รักน้ำเที่ยง.การทดสอบความไวของลูกน้ำยุงลายต่อสารเคมีทีมีฟอสที่ระดับความเข้มข้น 0.02 มิลลิกรัมต่อลิตร จังหวัดเลยและหนองบัวลำภู ปี 2557. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 2559; 23(2): 38-45.
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค.สถานการณ์โรค [อินเตอร์เน็ต].2563[เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?dcontent=old&ds=262766.
มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย 2563.กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. (เอกสารอัดสำเนา)
บงกช หงส์คำมี และชาญชัยณรงค์ ทรงคาศรี. โครงการประเมินมาตรการการป้องกันควบคุมโรคและภัย
สุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่เขตรับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6ขอนแก่น.2547; 12(1): 176-86.
คู่มือการทดสอบสารเคมีกำจัดแมลง. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. 2557.
Abbott, W.S. Method for computing the effectiveness of an insecticide. Journal of Economic Entomology. 1925; 18: 256-67.
กองแก้ว ยะอูป, วาสนา สอนเพ็ง, บุญเทียน อาสารินทร์, พรทวีวัฒน์ ศูนย์จันทร์ และสุกัญญา ขอพรกลาง
การประเมินประสิทธิภาพการพ่นสารเคมีควบคุมยุงลายขององค์กรปกครองท้องถิ่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น.2561; 25(2): 1-13.
Paeporn, P., Supaphathom, K., Srisawat, R., Komalamisra, N., Deesin, V., Ya-umphan, P., Leeming andSawat, S. Biochemical detection of pyrethroid resistance mechanism in Aedes aegypti in Ratchaburi province, Thailand. Tropical Biomedicine. 2004; 21(2): 145-51.
Mohd Ngesom, A.M., Ahmad Razi, A., Azizan, N.S. et al. Evaluation of a mosquito home system for controlling Aedes aegypti. Parasites Vectors. 2021;14(413):1-14.https://doi.org/10.1186/s13071-021-04918-9.
Marini G., Guzzetta G., Marques Toledo CA., Teixeira M., Rosà R., Merler S. Effectiveness of Ultra-Low Volume insecticide spraying to prevent dengue in a non-endemic metropolitan area of Brazil. PLoSComput Biol. 2019; 15(3): 1-13. https://doi.org/10.1371/journal.pcbi.1006831.
Dzib-Florez, S., Ponce-García, G., Medina-Barreiro, A., González-Olvera, G., Contreras-Perera, Y., Del Castillo-Centeno, F., Ahmed, A., Che-Mendoza, A., McCall, P. J., Vazquez-Prokopec, G., & Manrique-Saide, P. Evaluating Over-the-Counter Household Insecticide Aerosols for Rapid Vector Control of Pyrethroid-Resistant Aedes aegypti. The American journal of tropical medicine and hygiene. 2020; 103(5): 2108-112. https://doi.org/10.4269/ajtmh.20-0515.