ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลนางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพยากรณ์ (Predictive research) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ และปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลนางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ประชากร คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 2,729 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้จากกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อประมาณค่าเฉลี่ยของประชากร ได้กลุ่มตัวอย่าง 113 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสามารถในการทำนายปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (63.72%) อยู่ในกลุ่มอายุ 60 – 70 ปี (65.49%, = 68.92 , S.D.= 6.69) สถานภาพสมรส (63.72%) การศึกษาชั้นประถมศึกษา (79.65%) อาชีพเกษตรกรรม (50.44%) มีรายได้เฉลี่ยรายเดือนต่อครัวเรือน ต่ำกว่า 5,000 บาท (76.11%, = 4,901.33, S.D.= 7,731.67) มีโรคประจำตัว (38.05%) ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับสูง ( = 9.19, SD = 0.872) ทัศนคติเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับสูง (92.04%) การมีสถานที่ที่เอื้อต่อสุขภาพ การเข้าถึงสถานที่ที่เอื้อต่อสุขภาพ การมีเวลาในการส่งเสริมสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง (69.03%) การสนับสนุนทางสังคม อยู่ในระดับสูง (84.96%) พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง (53.10%) โดยปัจจัยที่ร่วมทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ได้แก่ การมีสถานที่ที่เอื้อต่อสุขภาพการเข้าถึงสถานที่ที่เอื้อต่อสุขภาพการมีเวลาในการส่งเสริมสุขภาพ
(β = 1.655, p < 0.001) ทัศนคติเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ (β = -0.898, p < 0.001) และความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ (β = -0.191, p < 0.022) สามารถอธิบายการผันแปรของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 98
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
มูลนิธิสถาบันวิจัยผู้สูงอายุไทย. สารสุขผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://thaitgri.org/?cat=13
นวรัตน์ ไวชมภู, รัตติภรณ์ บุญทัศน์, นภชา สิงห์วีรธรรม. การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2562; 6(2): 262-269.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์. ข้อมูลประชากร และการคัดกรองผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. 2565[สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก https://pnb.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php
Wayne DW. Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences. 7th edition.New York: John Wiley & Sons. (1999).
นิทา กิจธีระวุฒิวงศ์. การวิจัยทางสาธารรสุข:จากหลักการสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2).
พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2561.
นุกูล เลิศจันทรางกูร, รุจิรา หมื่นรักษ์. ความสามารถในการดําเนินชีวิตประจําวันของผู้สูงอายุ ตําบล คลองตาล อําเภอศรีสําโรง จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก: 2557. 2(1); 36-47.
ศิริรัตน์ จำปีเรือง, ปริทรรศน์ วันจันทร์, พัชรินทร์ ดวงตาทิพย์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชุมชนเมือง จังหวัดนครสวรรค์. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์ นครสวรรค์: 2562 7(3); 189-202
Park Young-Sook . Determinants of Health-Promoting Behavior in the Elderly. Journal of Korean Academy
of Fundamentals of Nursing: 1997. 4(2); 283-300
ชนาการ สิงห์หลง. ได้ศึกษาเรื่องพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลเวียงคำ
อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2557.
จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. พฤติกรรมสุขภาพ แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2563
วาสนา สิทธิกัน. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล ตำบล บ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. 2560.