การพัฒนารูปแบบเพื่อป้องกันการพยายามฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จังหวัดอุตรดิตถ์ บทคัดย่อ

Main Article Content

เนตรนภา ภะมะราภา

บทคัดย่อ

งานวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการพยายามฆ่าตัวตาย เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการพยายามฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้า  และประเมินผลรูปแบบ โดยแบ่งการวิจัยไว้ 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการพยายามฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ ด้วยการวิจัยเอกสารเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน และพัฒนารูปแบบด้วยการสนทนากลุ่มก่อนทดลองนำรูปแบบไปใช้ปฏิบัติ และประเมินผล โดยใช้กลุ่มตัวอย่างซึ่งคัดเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แนวการสัมภาษณ์เชิงลึกและแนวการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการฆ่าตัวตาย ได้แก่ ความวิตกกังวล ภาวะโรคซึมเศร้า สัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดี ได้รูปแบบการป้องกันการพยายามฆ่าตัวตาย ประกอบด้วย 1) พัฒนาศักยภาพบุคลากร 2) พัฒนาระบบการค้นหาคัดกรอง 3) สนับสนุนการมีส่วนร่วม 4) พัฒนาระบบข้อมูล ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า ผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าลดลง ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายลดลง  ครอบครัวให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วย มีระบบการป้องกันการฆ่าตัวตายที่ได้มาตรฐาน ภาคีเครือข่ายมีการดำเนินงานร่วมกัน โดยสรุป รูปแบบสามารถป้องกันการพยายามฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

March, P., & Schiebel, D. A. (2017).Substance abuse and suicide.CINAH Nursing Guide, 2017; 6.

กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2561.

มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี.กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยมหิดล.พิมพ์ครั้งที่ 3; 2555.

กรมสุขภาพจิต. รายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวช ประจำปีงบประมาณ 2561, ระบบศูนย์กลางการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชของประเทศไทย กรมสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต: 2561.สืบค้น เมื่อ 28 ธันวาคม 2563, จากhttps://dmh.go.th.th/report/datacenter/map/reds.asp.

แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). กองยุทธศาสตร์ และแผนงาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ. รายงานการสอบสวนโรค กรณีฆ่าตัวตาย.ขอนแก่น:โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์; 2562.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์.สรุปผลการดำเนินงานสุขภาพจิต จังหวัดอุตรดิตถ์ ประจำปี 2563.อุตรดิตถ์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์; 2563; 5-9

เชิญขวัญ ภุชฌงค์. การศึกษาสภาพปัญหาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง สัญญาณก่อนการฆ่าตัวตายเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนามาตรการป้องกันการฆ่าตัวตายในระดับชุมชน. นนทบุรี :โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2554.

สุพัตรา สุขาวห และ สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล. ปัจจัยเสี่ยงและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการ ฆ่าตัวตายในวัยรุ่น : การทบทวนวรรณกรรมเชิงลึก. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่ง ประเทศไทย.2560. 62(4): 359-378.

ธีรพงษ์ ธงหิมะ.ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าในชุมชน.วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา; 2562.20(2).105-118.

จินตนา พลมีศักดิ์, วิรัติ ปานศิลา, ปริญญา ผกานนท์. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย กรณีศึกษาบ้านตับเต่า ตำบลน้ำคำใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร. มหาสารคาม: โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2558.31-39.

เอื้อมพร หลินเจริญ. การวิเคราะห์และนำเสนอผลงานวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารวัดผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2558.

กายสิทธิ์ แก้วยาศรี, บุญมา สุนทราวิรัตน์, นิตยาภรณ์ โครตแก้ว.สถานการณ์และแนวทางการป้องกันการฆ่าตัวตาย: มุมมองผู้มีส่วนได้เสีย จังหวัดเลย ประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน ปีที่ 7 ฉบับที่3; 2564

กิตติวัฒน์ กันทะ, ช่อผกา แสนคำมา, ศสิธร กันทะ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตาย อำเภอจุน จังหวัดพะเยา.วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก; 2562.16-23.

Charity S. Akotia, Birthe Loa Knizek, Heidi Hjelmeland, Eugene Kinyanda, Joseph Osafo.

Reasons for attempting suicide: An exploratory study in Ghana.SSAGE journals Online.2018.