การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในสถานการณ์การระบาด โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลทองแสนขัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ศึกษาประสิทธิผล และความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลที่ได้พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานอายุ 15 ปีขึ้นไป ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และไม่มีโรคแทรกซ้อน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 60 คน กลุ่มทดลองใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบใช้การดูแลแบบเดิม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย รูปการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน แบบสอบถาม และแบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด เก็บข้อมูลในเดือนมกราคม 2565 - เมษายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-square test, Independent t-test และ Paired sample t-test ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย การรักษาพยาบาลให้ความรู้ ติดตามและให้กำลังใจผู้ป่วย โดยก่อนเริ่มดำเนินการให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ / อสม. ให้การดูแลรักษาที่บ้าน โดยการเจาะเลือดที่บ้าน แล้วส่งผลเลือดทาง Line application ให้แพทย์พิจารณาให้ยา แล้วนำยาไปให้ที่บ้าน และติดตามผลการรักษา และพฤติกรรมการดูแลตนเองในแต่ละเดือน ผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมดีขึ้น และมีระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) แต่มีพฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยไม่แตกต่างจากการดูแลแบบเดิม (p-value > 0.05) ผู้ป่วยทั้งหมดที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น มีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก และมีพึงพอใจมากกว่าการดูแลตามรูปแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.034) ดังนั้น จึงควรพิจารณานำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ไปใช้ และขยายผลไปยังโรงพยาบาลอื่น ๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
นิตยา พันธุเวทย์, เมตตา คำพิบูลย์, นุชรี อาบสุวรรณ. ประเด็นรณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2554. กรุงเทพฯ: สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข; 2555.
ปานทิพย์ รัตนศิลป์กัลชาญ, กิตติพัฒน์ โสภิตธรรมคุณ. อันตรายจากโรคเบาหวาน. วารสารวิทยเทคโน หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2559; 2(2): 1-8.
วรรณี นิธิยานันท์. ไทยป่วยเบาหวานพุ่งสูงต่อเนื่องแตะ 4.8 ล้านคน ชี้ ‘เนือยนิ่ง-อ้วน-อายุมาก’ ต้นเหตุ. [อินเทอร์เตอร์เน็ต] 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 มิถุนายน 2565] เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus. org/content/2019/11/18014
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019. [อินเทอร์เตอร์เน็ต] 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 มิถุนายน 2565] เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol. ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/1410_1.pdf
องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย – 17 เมษายน 2563. [อินเทอร์เตอร์เน็ต] 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2565] เข้าถึงได้จาก : https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/ 2020-04-17-tha-sitrep-55-covid19-th-final.pdf?sfvrsn=f2598181_0
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. การดูแลตนเองสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัด COVID-19. [อินเทอร์เตอร์เน็ต] 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2565] เข้าถึงได้จาก : https://www. dmthai.org/attachments/article/1004/covid-19_in_dm.pdf
American Diabetes Association [ADA]. Standards of medical care for patients with diabetes mellitus. Diabetes care 2017; 30(1): 34-40.
สุปวีณ์ ธนอัศวนนท์, เอกชัย คำลือ, ธาราทิพย์ อุทัศน์, พร้อมพันธ์ คุ้มเนตร, วัชรี ผลมาก. เหตุผลการผิดนัดของผู้ป่วยเบาหวาน คลินิกเบาหวาน. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2555; 19(2): 85-95.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางลดความแออัดในโรงพยาบาลเพื่อลดการแพร่กระจาย
COVID-19. นนทบุรี : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
Dey KP, & Hariharan, S. Integrated approach to healthcare quality management: A case study. The TQM Magazine 2006; 18(6): 583-605.
Beckie T. A supportive-educative telephone program: impact on knowledge and anxiety after coronary artery bypass graft surgery. Heart Lung 1989; 18: 46-55.
Rice R. Telecaring in home care: Making a telephone visit. Geriatr Nurs 2010; 21(1): 56-57.
World Health Assembly. Strengthening integrated, people-centred health services. World Health Organization 2016; 69(24).
เกวลิน ชื่นเจริญสุข. ประสิทธิผลการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่บ้านในสถานการณ์การระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019. นนทบุรี: กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.2563.
มยุรี เที่ยงสกุล, สมคิด ปานประเสริฐ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้า. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28: 696-710.
อนุชา วรหาญ. การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเลาขวัญ.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2561; 12(27): 5-22.