การสอบสวนโรคมาลาเรีย ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
วันที่ 18 พฤษภาคม 2565 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก ได้รับแจ้งจากทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) โรงพยาบาลพุทธชินราช พบผู้ป่วยโรคมาลาเรีย เชื้อ Plasmodium.vivax จำนวน 1 ราย เพศหญิง อายุ 10 ปี จึงลงพื้นที่สอบสวนโรคมาลาเรีย ร่วมกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ยืนยัน ค้นหาสาเหตุ และควบคุมการระบาด ผลการศึกษาพบ ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 10 ปี ที่อยู่ขณะป่วย หมู่ 9 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เริ่มป่วยวันที่ 13 พฤษภาคม 2565 ด้วยอาการไข้ หนาวสั่นและปวดเมื่อยตามร่างกาย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และส่งต่อโรงพยาบาลเนินมะปราง ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 แพทย์สงสัยโรคไข้เลือดออก และส่งต่อโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จากการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมพบผู้ป่วยสงสัยโรคมาลาเรีย จำนวน 2 คน ผลไม่พบเชื้อมาลาเรีย และสํารวจลูกน้ำยุงก้นปล่องทางกีฏวิทยาพบชนิดยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนําเชื้อมาลาเรีย ซึ่งจากการสำรวจที่พักอาศัยของผู้ป่วย เป็นพื้นราบบนเขา มีสวนยางพารา สวนทุเรียน มีร่องน้ำไหลผ่าน ผู้ป่วยโรคมาลาเรีย รายนี้คาดว่าน่าจะเกิดการติดเชื้อภายในพื้นที่ เนื่องจากมีสวนยางพารา และมีแรงงานต่างด้าวเข้า ออกในพื้นที่ ประกอบกับผู้ป่วยมีพฤติกรรมเสี่ยง ไม่นอนกางมุ้ง และไม่ได้ทากันยุง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
กรมควบคุมโรค กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียชนิดไม่มีภาวะแทรกซ้อนสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พ.ศ. 2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซด์, 2564.
Putaporntip C, Hongsrimuang T, Seethamchai S, Kobasa T, Limkittikul K, Cui L, Jongwutiwes S. Differential prevalence of plasmodium infections and cryptic plasmodium knowlesi malaria in humans in Thailand. J Infect Dis. 2009 Apr 5;199(8):1143-50. doi: 10.1086/597414.
จิตติจันทรมงคล, สมพาส แดงมณีกุล, โรม บัวทอง. การสอบสวนการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ Plasmidium knowlesi อําเภอเบตง จังหวัดยะลา เดือนเมษายน 2559. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2560; 48: 1-7.
กรมควบคุมโรค กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. แนวทางเวชปฏิบัติในการรักษาผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย ประเทศไทย พ.ศ. 2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซด์, 2564.