การประเมินผลการดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

รัชดาภรณ์ ทองใจสด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ วัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยใช้รูปแบบซิปป์ของสตัฟเฟิลบีม ประกอบด้วย  (1) บริบท (2) ปัจจัยนำเข้า (3) กระบวนการ (4) ผลผลิต (5) ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (6) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ ประชากรที่ทำการศึกษา คือ คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 291 คน ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 293 คน เก็บข้อมูลปฐมภูมิ โดยใช้แบบสอบถามและแบบวัดความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และ 0.98  ข้อมูลทุติยภูมิจากผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินผลตำบลที่มีระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง  ปี 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา ผลการวิจัย พบว่า (1) ด้านบริบท อยู่ในระดับสูง (= 53.95 S.D.= 5.386) (2) ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ และด้านทรัพยากร อยู่ในระดับสูง (= 49.88 S.D.= 5.913) (3) ด้านกระบวนการ มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและกำหนดบทบาทชัดเจน อยู่ในระดับสูง (= 70.60 S.D.=7.478) (4) ด้านผลผลิต ผลการประเมินตำบลตามเกณฑ์ 6 องค์ประกอบ 117 ตำบล คะแนนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 98 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 100 (5) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อยู่ในระดับปานกลาง (=  33.89 S.D.= 5.873)  (6) ปัญหา อุปสรรคที่สำคัญ คือ ขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงานของทีมสหวิชาชีพ  

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สังคมผู้สูงอายุ นัยต่อการพัฒนาการเศรษฐกิจ[อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2563. [เข้าถึงเมื่อ 25 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/05-01.html

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. แผนผู้สูงอายุฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545–2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. กรุงเทพ: 2552

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. คู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร Care Manager. กรุงเทพ: ศูนย์สื่อสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม; 2558

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์. สรุปรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุ สสจ.เพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์; 2563. หน้า 24-9.

Stufflebeam, D. et al. Educational Evaluation and Decision Making. Itasca, Ill: Peackock; 1971

มนัสศรา อัจฉริยะเมธากุล. การประเมินผลการดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช; 2562

Agneta Breitholtz, Ingrid Snellman, Ingegerd Fagerberg. Living with Uncertainty: Older Persons’ Lived Experience of Making Independent Decisions over Time [อินเทอร์เน็ต]. Hindawi Publishing Corporation Nursing Research and Practice; 2513 [เข้าถึงเมื่อ 25 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.hindawi.com/journals/nrp/2013/403717

วิราภรณ์ โพธิศิริและคณะ. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาต้นแบบบูรณาการระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง.กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559

สุขสันต์ สินทา. การประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอประเด็นการดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว.วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ; 2563