ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก

Main Article Content

โชคชัย เกตุสถิตย์
ปวีณา แก้วเขียว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและปัจจัยชีวสังคม ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก ได้แก่ อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ และอำเภอแม่ระมาด กลุ่มตัวอย่าง 370 คน สุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนประชากร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระยะเวลาในศึกษา เดือน สิงหาคม - กันยายน 2564 ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ t – test และ One-way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า ระดับความรอบรู้อยู่ระดับปานกลาง (Mean = 3.65, SD = 0.65 ) การศึกษาและอายุ มีผลต่อความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น อสม.จึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับโปรแกรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในเรื่องของการอ่านข้อมูลความรู้ หรือผังภาพ หรือศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับมลพิษอากาศ เพิ่มการพัฒนาศักยภาพ อสม. ที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมและในกลุ่มวัยสูงอายุ และนําผลที่ได้จากการวิจัยไปศึกษาต่อโดยการใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดการแก้ไขและป้องกันปัญหาผลกระทบทางสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่างยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ. รายงานคุณภาพอากาศในพื้นที่บริเวณ ต.แม่ปะ

อ.แม่สอด จ.ตาก. 2560 – 2563 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฎาคม 2564] เข้าถึงได้จาก

http://air4thai.pcd.go.th/

HDC กระทรวงสาธารณสุข. การป่วยด้วยโรคจากมลพิษอากาศ [อินเตอร์เน็ต]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฎาคม 2564] เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th

Kathleen M. Gray. From Content Knowledge to Community Change: A Review of Representations of Environmental Health Literacy. Int J Environ Res Public Health [Internet]. 2018 [2018 July 7]; 15(3):466. Available from doi: 10.3390/ijerph15030466.

Marsili, Combaand De Castro. Environmental health literacy within the Italian Asbestos Project: experience in Italy and Latin American contexts. Commentary [Internet]. 2015 [2018 July 7]; 51[3]: 180-182 Available from doi: 10.4415//ANN_15_03_02

กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย. รายงานผลการศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2563

สนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. แบบรายงานระบบฐานข้อมูล อสม. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5

กรกฎาคม]. 2564 เข้าถึงได้จาก https://www.thaiphc.net/new2020/content/1

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติใน การใช้สูตรของ ทาโรยามาเน และเครจซี-มอร์แกน วารสารสหวิทยาการวิจัย:ฉบับบัณฑิตศึกษา[อินเตอร์เน็ต]. 2562[เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฎาคม 2564]; 8:11-28. เข้าถึงได้จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/243621

อังศินันท์ อินทรกำแหง และคณะ. การศึกษาความรอบรู้ด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่เขตเมืองและเขตชนบท [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย; 2562. [เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://env.anamai.moph.go.th/