การพัฒนายุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการจัดการโรคไข้เลือดออกประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางนโยบาย กลยุทธ์ และแผนในการจัดการโรคไข้เลือดออก ระดับอำเภอ และเขต กทม. และพัฒนายุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการจัดการโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ 9 จังหวัด 18 อำเภอ 4 เขต ในกลุ่มผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และสำนักงานเขต เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา
การวางนโยบาย กลยุทธ์ และแผน พบว่า 1) รูปแบบการจัดการโรคไข้เลือดออกใช้รูปแบบอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็ง 2) กลยุทธ์ในการจัดการโรคไข้เลือดออกเป็นแบบการจัดการกับโรคที่นำเข้ามาในพื้นที่มากกว่าเป็นโรคประจำถิ่น 3) การจัดบริการทางการแพทย์แยกส่วนไม่บูรณาการ 4) อำเภอขาดทักษะในการเป็นเสนาธิการสำหรับจัดการแผนงานโรคไข้เลือดออก 5) อำเภอยังไม่มีการปรับใช้กลยุทธ์การจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานในการควบคุมยุงพาหะ 6) ผู้ปฏิบัติงานพ่นเคมีขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นยังขาดทักษะที่ถูกต้อง
การพัฒนายุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการจัดการโรคไข้เลือดออก ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1) ยกระดับความเข้มแข็งของ ระบบเฝ้าระวังโรค และการจัดการ ภาวะฉุกเฉินของโรคติดต่อนำโดยยุงลาย 2) ขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายและประชาชนให้มีความเป็นเจ้าของร่วมรับผิดชอบ นำกระบวนการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานไปใช้ป้องกันและควบคุมยุงลายอย่างครบองค์ประกอบในทุกระดับ 3) เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้ประชาชนมีความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย 4) เพิ่มความเข้มแข็งของระบบการวินิจฉัยโรค การดูแลรักษาพยาบาล ส่งต่อผู้ป่วย และ ติดตามผลการรักษา ในทุกระดับให้ได้ตามแนวทางการดูแลรักษา 5) พัฒนาและจัดการวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยี อย่างบูรณาการ และเป็นระบบ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2558. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการพยากรณ์โรค ปี 2560. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๑๑๖ ตอนที่ ๑๑๔. หน้า1-17.
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการประเมินผลการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกภาพรวมระดับประเทศ ปี 2559 – 2560. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
สำนักการสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การประเมินผลการสำรวจการรับทราบข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนไทย กรมควบคุมโรค ประจำปี 2558. นนทบุรี: สำนักการสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
สำนักจัดการความรู้ และ กองแผนงาน กรมควบคุมโรค. อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ภายใต้ระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System) ปี 2559. คู่มือการประเมินตนเองระดับอำเภอ. นนทบุรี: สำนักจัดการความรู้ และ กองแผนงาน กรมควบคุมโรค; 2558.
World Health Organization. World health statistics 2017, monitoring health for the SDGs, Sustainable Development Goals. Geneva, World Health Organization Switzerland; 2017.
World Health Organization. International Health Regulations (2005). Areas of work for implementation. Lyon: World Health Organization; 2007.
ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐). ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 135, ตอนที่ 82. หน้า 1-396
กระทรวงสาธารณสุข. ร่าง แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
World Health Organization. Dengue: guidelines for diagnosis treatment prevention and control - New edition. Geneva: World Health Organization; 2009.
World Health Organization. Everybody business: Strengthening health systems to improve health outcomes: WHO’s framework for action”. Geneva: WHO Switzerland; 2007.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ตามแนวทางของ ก.พ.ร. [อินเทอร์เน็ต]. 2552. [เข้าถึงเมื่อ 16 มี.ค. 2557]. เข้าถึงได้จาก:https://www.pharmacy.cmu.ac.th/unit/unit_files/files_data/2013-07-24strategic-plan-technic-2552.pdf
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก ปี 2557. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกี และโรคไข้เลือดออกเดงกี ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2558. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
World Health Organization. Comprehensive Guidelines for Dengue Prevention and Control. New Delhi: World Health Organization; 2011.
บุษบง เจาฑานนท์, ปิยะพร หวังรุ่งทรัพย์, สุธีรา พูลถิน. การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยชุมชนมี ส่วนร่วม จังหวัดลำพูน พ.ศ. 2555. วารสารควบคุมโรค 38(4).
กองแผนงาน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประเทศ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). นนทบุรี: กองแผนงาน; 2560.
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์โรคติดต่อนำโดยแมลงระดับชาติ ปี 2555 – 2559. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561 – 2565). นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน; 2564.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ประจำปี พ.ศ. 2564. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน; 2563.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ สำหรับพื้นที่ ประจำปี พ.ศ. 2564. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน; 2563.