ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของ Care Giver อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

วันเพ็ญ แก้วดวงดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Study)มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของ Care Giver อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์  ประชากรที่ศึกษา คือ Care Giverในเขตอำเภอหล่มเก่า  จังหวัดเพชรบูรณ์  โดยประชากรทั้งหมด จำนวน130 คนซึ่งใช้หลักเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออกได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 109คนและการสนทนากลุ่ม จำนวน 11 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านและหาความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช ได้เท่ากับ 0.87 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่  1 กุมภาพันธ์ 2565 – 28 กุมภาพันธ์ 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการหาค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  และค่าสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่าภาพรวมระดับการปฏิบัติงานของ Care Giver อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์อยู่ในระดับปานกลาง  ค่าเฉลี่ย2.78 (S.D.=0.42) ภาพรวมระดับความสัมพันธ์ปัจจัยการบริหารกับการปฏิบัติงานของ Care Giver อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์อยู่ระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ   (r = 0.513, p-value<0.001) โดยปัจจัยการบริหารด้านวัสดุอุปกรณ์และปัจจัยด้านงบประมาณ สามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานของ Care Giver อำเภอหล่มเก่าจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ร้อยละ 54.2 (R2= 0.542) และพบว่าปัญหาอุปสรรค ในการปฏิบัติงานของ Care Giver  ที่พบส่วนใหญ่ คือการดูแลกิจวัตรประจำวัน ร้อยละ 21.2

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์;2563.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่(Long-term care)ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2559.

ทองหล่อ เดชไทย. ภาวะผู้นำเพื่อการบริหารสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544.

World Health Organization. Harare declaration: Inner-regional meeting on dtrengthening

district health system based on primary health care. Geneva: World Health Organization; 2000.

คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขอำเภอหล่มเก่า. อำเภอหล่มเก่าสุขภาพดี 80ปียังแจ๋ว. เพชรบูรณ์:สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหล่มเก่า; 2563.

ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

ศศิธร เฝ้าทรัพย์ และสุวิทย์ อุดมพาณิชย์. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น.วารสารทันตาภิบาล2562; 30(1): 92-102.

บรรยงค์ โตจินดา. องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์; 2545.

เกียรติศักดิ์ เชิญกลาง, ชัญญา อภิปาลกุล. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาสาธารณสุขชุมชน 2561; 4(2), 92-104.

ฆาลิตา อานนท์ และคณะ. ปัจจัยการบริหารและการปฏิบัติต่อการป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ของผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็ก จังหวัดนครศรีธรรมราช.ความปลอดภัยและสุขภาพ 2558; 8(29):13-26.

ญาณิน หนองหารพิทักษ์, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไปในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2556; 13(1):99-108.