สถานการณ์การเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ ในเขตสุขภาพที่ 11
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective descriptive cohort study) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำในเขตสุขภาพที่ 11 โดยเก็บข้อมูลจากโปรแกรมบริหารงานคลินิกวัณโรค บันทึกเวชระเบียนผู้ป่วย และฐานข้อมูลโปรแกรม HOSxP กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ ที่ขึ้นทะเบียนรักษาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560 ในโรงพยาบาลภาครัฐทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 11 ที่เสียชีวิต จำนวน 452 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 75 กลุ่มอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป มีอาการสำคัญของวัณโรคเมื่อมาพบแพทย์ ร้อยละ 88.9 โดยมีอาการไอเกิน 2 สัปดาห์ ร้อยละ 70.8 พบผลเอกซเรย์ปอดผิดปกติ ร้อยละ 90.3 ไม่ได้ส่งตรวจตรวจเสมหะเพาะเลี้ยงเชื้อ ร้อยละ 58.2 มีค่า BMI <18.5 kg/m2 ร้อยละ 63.3 พบมีโรคร่วมหรือโรคประจำตัว ร้อยละ 63.9 มีผู้ป่วยที่เสียชีวิตก่อนได้รับยาวัณโรคร้อยละ 4 ดังนั้น จึงควรมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ อาการสำคัญที่สงสัยเข้าได้กับวัณโรค ให้เข้าถึงกลุ่มเสี่ยง และให้มีตรวจค้นหาคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงทุกราย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคร่วม กลุ่มที่มีภาวะทุพโภชนาการ เป็นต้น เพื่อให้เข้าถึงการรักษาได้เร็วขึ้นและเฝ้าระวังระหว่างการรักษาเพื่อลดอัตราตาย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
WHO. Global tuberculosis report 2018. [online] [cited 2020 Apr 5]. Available from:https://apps.who.int/iris/handle/10665/274453_eng.pdf
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2564.กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. 2564.
สำนักวัณโรค. ระบบบันทึกข้อมูลวัณโรครอบ 3 เดือน. [ออนไลน์] [เข้าถึงเมื่อ 12 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.tbthailand.org/data/
พันชัย รัตนสุวรรณ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ภายใต้รูปแบบการดำเนินงาน Non-Family DOT ของโรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีงบประมาณ 2550-2558. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต 2561 ; 37(2): 35-41.
ราเมศ คนสมศักดิ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร 2560 ; 9 (1): 19-27.
อัจฉรา รอดเกิด. (2562). สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2562; 33(1): 91-102.
Lijlana S, Mirjana T, Vladimir M, Iva S. The causes of death among patients with tuberculosis. European Respiratory Journal 2015; 46: 203-13.
Simoni P, Juliana P, Rosana R, Luciano A. Early death by Tuberculosis as the underlying case in a State of Southern Brazil: profile, comorbidities and associated vulnerabilities. International Journal of Infectious Diseases 2019; 80: 50-7.
Naini RA, Moghtaderi A, Metanat M, Mohammadi M, Zabetian M. Factors associated with mortality in Tuberculosis patients. Journal of Research in Medical Sciences 2013; 18(1): 52–5.
เจริญศรี แซ่ตั้ง. (2560). ลักษณะของผู้ป่วยวัณโรคและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตระหว่างการรักษา ของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในภาคเหนือตอนบน ปี 2005-2014. วารสารควบคุมโรค 2560; 43(4): 436-47.
อัมพาพันธ์ วรรณพงศภัค, กิตติกาญจน์ มูลฟอง. (2560). ลักษณะและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการตายของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2560; 13(2): 72-85.
วิวรรธน์ มุ่งเขตกลาง, ปวีณา จังภูเขียว, กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. สาเหตุและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคระหว่างการรักษา ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2552-2553. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2559; 23(1): 22-33.
พรพิสุทธิ์ เดชแสง. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ โรงพยาบาลห้วยยอด จังหวัดตรัง.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2561; 27(5): 908-19.
Yen YF, Tung FI, Ho BL, Lai YJ. Underweight increases the risk of early death in tuberculosis patients. British Journal of Nutrition 2017; 118: 1052–60.
จิราวัฒน์ แก้ววินัด. ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดชนิดเสมหะพบเชื้อที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2561; 33(3): 195-208.
Lin HC, Lin JL, Kuo YW, Hsu CL, Chen J M, Cherng WC, Lee LN. Tuberculosis mortality: patient characteristics and causes. BMC Infectious Diseases 2014 ;14: 5-10.
กนกวรรณ จงเจริญ. ประสิทธิผลของการใช้ระบบ DOTS ดูแลผู้ป่วยวัณโรคของโรงพยาบาลราศีไศล จังหวัดศรีษะเกษ. วารสารควบคุมโรค 2549; 21(2): 13-20.
บัณฑิต วันคำ. ผลการใช้ระบบ DOTS ดูแลผู้ป่วยวัณโรคโรงพยาบาลหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2547-2549. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2550; 3(3): 269-74.
ภัททิรา ทางรัตนสุวรรณ. (2550). ประสิทธิผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคด้วยระบบยาระยะสั้นภายใต้การสังเกตโดยตรง (DOTS) ในอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ในแผนการพัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ปี 2545-2549. วารสารควบคุมโรค 2550; 44(33): 259-68.