การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในชุมชน เขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

ดิลก อ่อนลา

บทคัดย่อ

             ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญและท้าทายของงานบริการสุขภาพ การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูง อายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในชุมชนเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่  ระยะที่  1  การศึกษาเชิงพรรณนาแบบศึกษาข้อมูลย้อนหลัง ศึกษาบริบทและสภาพปัญหาของระบบการดูแลระยะยาว (Long Term Care: LTC) ระยะที่ 2 การพัฒนาระบบ LTC  และระยะที่ 3 ประเมินผลการพัฒนาระบบ LTC ด้วยการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลที่เข้ารับการพัฒนาเป็น Smart CG จำนวน 38 คน และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มก่อนพัฒนาระบบ LTC คือช่วงเวลาเดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563 และกลุ่มหลังการพัฒนาระบบ LTC คือช่วงเวลาเดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564  เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความรู้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ แบบประเมินทักษะในการปฏิบัติกิจกรรม และแบบประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) เก็บรวบรวมข้อมูลและนำไปวิเคราะห์ทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ประกอบด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test, McNemar test และ Chi-square test


             ผลการวิจัยพบว่า ระบบ LTC ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ระบบ ได้แก่ 1) ระบบการจัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุ  (Quality Care plan) 2) ระบบการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ  (Smart CG (care giver) 3) ระบบการเยี่ยมบ้านด้วย Buddy CG และ 4) ระบบการเตือนการดำเนินงาน (Trigger monitoring) ภายหลังการนำระบบ LTC ที่พัฒนาขึ้นไปปฏิบัติ การจัดทำ care plan เพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนการพัฒนาระบบ LTC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (94.5%, 89.9%, p=0.005)  ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านคะแนน ADL 5-11 คะแนน และกลุ่มติดเตียงคะแนน ADL 0-4 คะแนน จำนวนลดลงสูงกว่าก่อนการพัฒนาระบบ LTC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (58.3%, 37.5%, p<0.001, 50.0%, 20.8%, p<0.001) แต่อัตราการเกิดแผลกดทับรายใหม่ และการหายของแผลกดทับไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) โดยสรุประบบ LTC ที่พัฒนาขึ้นเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้บริหารจึงควรนำระบบ LTC ที่พัฒนาขึ้นขยายผลให้ครอบคลุมทุกอำเภอในจังหวัดเพชรบูรณ์

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

อัญชิษฐฐา ศิริคำเพ็ง และภักดี โพธิ์สิงห์. การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิงในยุคประเทศไทย 4.0.วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 2560; 17(3): 235-243.

Sukhothai Thammathirat Open University.Elderly Society: Implication to Develop the Economy. [cited 2021, October 15]. Available from:http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/05- 01.html; 2016.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. Situation of the Elderly 2016. Nakhonpatom: Printery Co., Ltd. (in Thai); 2017.

Hawanon, N. & Wathanotaia, T. A new agenda for developing housing for elderly in Thai society. Bangkok: Faculty of Architecture Community, Rajamangala University of Technology Thanyaburi Foundation of Thai. [in Thai]; 2009.

Srilorm, K. A Development of Multicultural Health Management Process for Elderly. Ph.D. Dissertation. Ph.D. (Innovation For Local Development). Rajabhat Mahasarakham University; 2015.

National Health Security Office. Long-term Care Public Health for Depressed Elderly People (Long Term Care) on National Health Security System. Bangkok: National Health Security Office; 2016.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี. เพชรบูรณ์: สำหนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์; 2562.

Department of Health. Elderly health record. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2014. 63 p. (in Thai)

National Health Security Office. A handbook for long-term care for the elderly in public health under the national health security system. Bangkok: 2016. (in Thai)

Thassanee Soontorna, Praditporn Pongtrianga and Praneed Songwathanab. Thai family caregivers’ experiences helping dependent elders during medical emergencies: a qualitative study. Australasian Emergency Care. 2020; 23: 71–76.

ยศ วัชระคุปต์, วรรณภา คุณากรวงศ์, พสิษฐ์ พัจนา และสาวิณี สุริยันรัตกร. ประสิทธิผลของบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง: กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2561; 12 (4): 608-24.