ผลการดําเนินงานคลินิกให้คําปรึกษาการเลิกบุหรี่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตําบลขุนควร อําเภอปง จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง หนึ่งกลุ่มวัดซ้ําก่อน-หลังดําเนินการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินผลการให้บริการคลินิกให้คําปรึกษาการเลิกบุหรี่ที่พัฒนาตามแนวทาง รูปแบบความเชื่อทางสุขภาพ ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลขุนควร ตําบลขุนควร อําเภอปง จังหวัดพะเยา มีผู้สมัครใจเข้าสู่กระบวนการเลิก บุหรี่จํานวน 40 ราย และประเมินผลหลังดําเนินการ 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี หลัง โครงการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมานใช้ KruskalWallis test, Wilcoxon signed rank test กําหนดค่านัยสําคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า ในช่วงระยะเวลา 1 สัปดาห์ และ 2 สัปดาห์ ไม่พบผู้เลิกสูบบุหรี่ แต่ในระยะเวลา 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน มีผู้เลิกบุหรี่ได้ 14, 18 และ 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 35, 45 และ 50 ตามลําดับ และอัตราการเลิก บุหรี่มีจํานวนคงที่ ร้อยละ 50 เมื่อสิ้นสุดระยะเวลา 1 ปี แต่ในกลุ่มผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ ไม่ได้ ในระยะเวลา 1 ปี จํานวน 20 คน หลังเข้าโครงการสามารถลดจํานวนบุหรี่ที่สูบต่อวันลงได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ คือสัปดาห์แรกลดจาก 10.4 มวนต่อวัน เป็น 9.05 มวนต่อวัน (p<0.001) และลงลงเป็น 7.4 มวนต่อวันในสัปดาห์ที่สอง (p<0.001) ลงลงเป็น 5.6 มวนต่อวันในเดือนแรก (p<0.001) ลงลงเป็น 4.35 มวนต่อวันในสามเดือน (p<0.001) 3.05 มวนต่อวันในหกเดือน (p<0.001) และเมื่อครบปีลดการสูบบุหรี่ลงเหลือ 1.6 มวนต่อวัน (p<0.001) ไม่พบความแตกต่างของการเลิกบุหรี่ได้ ในกลุ่มที่แบ่งตามอายุ (p=0.264) เพศ (p=0.240) และระดับการศึกษา (p=0.606) สรุปกระบวนการเลิกบุหรี่โดยการพัฒนาใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพนี้ สามารถทําให้เลิกบุหรี่ได้ 50% ภายใน 6 เดือน และทําให้ผู้ที่ไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้แต่ก็สามารถลดจํานวนการสูบลง อย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติจาก 10.4 มวนต่อวัน เป็น 1.6 มวนต่อวันในระยะเวลา 1 ปี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชาชน พ.ศ. 2554[Intemet]. 2557 [Cited 2557 สิงหาคม 10];Available from http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/smokeRep54.pdf
ศูนย์ข้อมูข่าวสารด้านการแพทย์ฉุกเฉินไทยม. บุหรี่สารพัดโรคอันตรายมากมายมหาศาล[Internct].2557
[Cited 2557 สิงหาคม 10]; Available fromhttp://www.thaiemsinfo.com/autopagev4/show page.php?topic id=255&auto id-9&TopicPk=
โครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ระดับโลก2554. มูลนิธิเพื่อการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ [Intermet]. 2557
[Cited 2557 สิงหาคม 10]; Available fromhttp://www.ashthailand.or.th
องอาจ นัยพัฒน์, อำนาจของการทดสอบทางสถิติ: ข้อการคำนึงสำหรับการกำหนดตัวอย่างเพื่อการวิจัย,วารสารพฤติกรรมศาสตร์, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, 2554 หน้า1-19
Jacob Cohen, A power primer, Psycological bulletine, 1992, vol 112, No. 1, 156-159
สธิตา สมควรดี. ศึกษาการเลิกสูบบุหรี่ความตั้งใจและปัจจัยที่ทำให้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ กรุงเทพฯ : กรม
สุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2542.
สุนันทา โอศิริ และคณะ. ศึกษาการบูรณาการเลิกบุหรี่ด้วยสมุนไพร ชลบุรี: คณะแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา; 2555.
Velicer, W. F., Fava, J. L. Prochaska, J. O., Abrams,D. B., Emmons, K. M., & Pierce, J.Distribution of smokers by stage in three representative samples. Preventive Medicine, (1995) 24: 401-411.
Why it's hard to change unhealthy behavior.Harvard health publication(Internet]. 2557 [Cited 2557 สิงหาคม 10]; Available from http://www.health.harvard.edu/newsweck/Why-its-onbard-to-change-unhealthy-behavior.htm
สันต์ ใจยอดศิลป์,หลักทฤษฎีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (Transthcoretical หรือ Slage of Change Model)[IntemetJ. 2557 [Cited 2557 สิงหาคม 10];Available from http://visitdrsant.blogspot.com/2010/01/transtheor
etical-stage-of-change-model.html