ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นและเยาวชนในหอพักจังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นและเยาวชน ในหอพักจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ ความรู้เรื่องเพศ และค่านิยมทางเพศ กลุ่มตัวอย่าง มีอายุระหว่าง 15 -24 ปี รวบรวมข้อมูล ระหว่างพฤศจิกายน ธันวาคม 2556 จํานวน 475 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามประเภทตอบเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ตรวจสอบความเที่ยงด้วยวิธี Cronbach's Alpha Coefficient ผลการวิเคราะห์ความเที่ยงของปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ ได้เท่ากับ 0.81 ค่านิยม เท่ากับ 0.79 ความรู้เรื่องเพศ การคุมกําเนิดและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นและเยาวชน ด้วยสถิติการถดถอยโลจิสติค (Binary Logistic Regression Analysis)
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนมากเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 59.8) เคยมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 55.2 อายุ น้อยสุดที่มีเพศสัมพันธ์ คือ 12 ปี จํานวนคนที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยเฉลี่ย 2.9 คน และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการมี เพศสัมพันธ์ พบว่า ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 68.2 เที่ยวสถานเริงรมย์ ร้อยละ 63.6 ดูสื่อลามก ร้อยละ 76.9 รวมถึงการที่มีความรู้เรื่องเพศ การคุมกําเนิด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และมีค่านิยมทางเพศ ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นและเยาวชนในหอพัก ได้แก่ อายุ การศึกษาระดับ ปวส. ปัจจุบันมีแฟน คู่รักเคยมีแฟน คู่รักแต่ปัจจุบันไม่มีการอยู่ตามลําพังกับคู่รัก/เพื่อนต่างเพศ เคยดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ เคยดูสื่อลามก ความรู้เรื่องเพศ การคุมกําเนิดและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และค่านิยมทางเพศ อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดย พบว่า อายุเพิ่มขึ้นมีโอกาสมีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้น 1.4 เท่า การศึกษาระดับ ปวส. มีโอกาสที่จะมีเพศสัมพันธ์มากกว่าระดับอื่น 14 เท่า ปัจจุบันมีแฟน คู่รักมีโอกาสมีเพศสัมพันธ์มากกว่าไม่มี 11 เท่า เคยมีแฟน คู่รักแต่ปัจจุบันไม่มี มีโอกาสมีเพศสัมพันธ์มากกว่าไม่เคย 5.7 เท่า การอยู่ตามลําพังกับคู่รักเพื่อนต่างเพศ มีโอกาสที่จะมีเพศสัมพันธ์มากกว่าไม่เคยอยู่ 5.7 เท่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีโอกาสมีเพศสัมพันธ์มากกว่าไม่ ดื่ม 2.8 เท่า การดูสื่อลามกมีโอกาสมีเพศสัมพันธ์มากกว่า ไม่ดู 2.6 เท่า มีความรู้เรื่องเพศ การคุมกําเนิดและ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีโอกาสมีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้น 1.2 เท่า และการมีค่านิยมทางเพศที่ดีมีโอกาสมี เพศสัมพันธ์ลดลง 0.9 เท่า
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา และคณะ. สุขภาพคนไทย2546. นครปฐมะสถาบันวิจัยประชากรสังคมมหาวิทยาลัยมหิดลและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ; 2546.
สมพงษ์ จิตระดับ.กรุงเทพมหานครเมืองสีเทาของเด็กและเยาวชน.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุพาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
วารุณี ฟองแก้ว และคณะ. การป้องกันและลดการติดเชื้อเอชไอวีในวัยรุ่นและเยาวชน : สถานการณ์;2549.
ภาวะสังคมไทย ไตรมาสสอง . สถานการณ์ผู้ป่วยเอคส์ สำนักระบาควิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข:สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ; 2556.
วรวรรณ ทิพย์วารีรมย์ และกรกาญจน์ ปานสุวรรณ.รายงานการวิจัยการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์และการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตจังหวัดพิษณุโลก.พิษณุโลกะมหาวิทยาลัยนเรศวร ,2546.
วีระชัย สิทธิปียะสกุล และคณะ. "ความคิดเห็นและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นในประเทศไทย"รายงานการวิจัย พิษณุโลก : ศูนย์อนามัยที่ 1-12.2556.
สุมาลี เพิ่มแพงพันธุ์ และจารีรัตน์ ชูตระกูล.รายงานการวิจัยสถานการณ์ปัญหาและรูปแบบบริการค้านสุขภาพวัยรุ่นในหอพัก.นนทบุรี : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ;2549.
URI :http.//th.wikipedia.org/wiki สืบค้นเมื่อ 20มกราคม 2556 /จังหวัดพิษณุโลก
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดพิษณุโลกรายงานบัญชีรายชื่อหอพักจังหวัดพิษณุโลกที่จดทะเบียนตาม พรบ.หอพัก พ.ศ. 2505 ; 2554.
สิริศา กันธะโน.รายงานสรุปโครงการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดตาก: สำนักงานสาธารณสุข
จังหวัดตาก ; 2555.
พัชนี ทองประเสริฐ(วัยรุ่นกับการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และกลไกในการเผชิญปัญหาการวิจัยเชิงคุณภาพ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี. บทคัดย่อผลงานวิชาการสาธารณสุข ปี2547.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการทบทวนสถานการณ์เรื่องพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น : การเสริมสร้างทักษะชีวิตและการให้คำปรึกษา. มปท; 2547.
วราดา แพงพิบูลย์. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศแบบเสรีของวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในหอพัก ในเขตเทศบาลนครเชียงราย กรณีศึกษา ชุมชนสันโค้งหลวง สันโค้งน้อย.วิทยานิพนธ์ศิลปะสาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย; 2550.