ความเสี่ยงและแนวทางป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ของนักศึกษาแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธร

Main Article Content

ธีรยศ ปุณโณทก

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงสํารวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและเพื่อ กําหนดแนวทางในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในกลุ่มนักศึกษาแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธร ในปีการศึกษา 2556 ชั้นปีที่ 4-6 จํานวน 84 คน เก็บ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือน เมษายน 2557 - พฤษภาคม 2557 สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยการกําหนดค่า ระดับความเสี่ยงตามมาตรฐานของสํานักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กําหนดแนวทางการป้องกัน โดยการอภิปรายกลุ่ม


ผลการวิจัยพบว่าความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี พบว่าเคยได้รับอุบัติเหตุเข็มตําหรือมีดบาด ร้อยละ 38.1 ซึ่งจําแนกเป็นเคยได้รับอุบัติเหตุเข็มตําหรือมีดบาด 2 ครั้ง ร้อยละ 56.2 เวรดึก ร้อยละ 56.2 ตึกผู้ป่วย ร้อยละ 56.2 งานที่เกิดอุบัติเหติเป็นงานอื่น ๆ ร้อยละ 56.2 สาเหตุจากความประมาท ร้อยละ 34.3 กลุ่มตัวอย่าง ได้รับความรู้จากหลักสูตรการเรียน ร้อยละ 65.5 มาตรการป้องกันอันตรายที่มีอยู่ในปัจจุบัน คือ ไม่นําเข็มที่ใช้แล้ว สวมเข้ากับปลอกเข็ม ร้อยละ 86.9 การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอันตรายที่มีอยู่ในปัจจุบัน คือ ไม่นําเข็มที่ใช้แล้ว สวมเข้าปลอกเข็ม ร้อยละ 81.0 ผลจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กรณีความเสี่ยงสูงจากอุบัติเหตุถูกเข็มตําหรือของมีคม บาด พบว่า ไม่มีนโยบายและการกําหนดแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเข็มตําหรือมีดบาดเป็นลายลักษณ์ อักษรมีเพียงแนวทางปฏิบัติหลังเกิดอุบัติเหตุถูกเข็มตําหรือของมีคมบาด ในด้านสภาพแวดล้อมพบว่าแสงสว่างใน ที่ทํางานต่ํากว่าค่ามาตรฐานแนวทางการแก้ไขปรับปรุงนั้นมีข้อเสนอแนะว่า ควรกําหนดให้มีการวิเคราะห์งานเพื่อ ความปลอดภัย (Jop Safety Analysis) ในทุกงาน จัดทําแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและมี ช่องทางสื่อสารการปฏิบัติกับเจ้าหน้าที่ทุกคน

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

อดุลย์ บัณฑุกุล. คู่มืออาชีวเวชศาสตร์ 2000 บทนำสำหรับการบริหารจัดการป้องกันดูแล

และรักษาโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ.กรุงเทพฯ:สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี; 2544.

Center for Discase Control and Prevention.Case- control study of HIV seroconversion in health-care workers after percutancous exposure to HIV infected blood-France,United Kingdom, and United State, January,1988 - August 1994. Morbidity and Mortality Weckly Reports ; 1995, 929-933.

อะเคี้อ อุณหเลขกะ.การติดเชื้อในโรงพยาบาล:ระบาดวิทยาและการป้องกัน.เชียงใหม่:โรง

พิมพ์มิ่งเมือง : 2545.

อดุลย์ บัญฑุกล. ตำราอาชีวเวชศาสตร์.กรุงเทพฯ:โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี ;2554.

สมหวัง ด่านชัยวิจิตร. วิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติคชื้อในโรงพยาบาล. นนทบุรี:สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.2549.

อะเอื้อ อุณหเลขกะและสุชาคา เหลืองอาภาพงศ์.การป้องกันอุบัติเหตุจากเข็มและของมีคมของโรงพยาบาลในประเทศไทย. พยาบาลสาร,40 ; 2556.130-142.