ความชุกโรคหนอนพยาธิในประชาชน และโฮสต์กึ่งกลางในสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำแม่สอดตอนบน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาแบบตัดขวางในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจอัตราความชุกโรคหนอนพยาธิในประชาชน โฮสต์กึ่งกลางในสิ่งแวดล้อมพื้นที่ โครงการอ่างเก็บน้ำแม่สอดตอนบน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ทั้งพื้นที่ผลกระทบและพื้นที่รับประโยชน์ สุ่มกลุ่มตัวอย่างประชาชน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม 30 กลุ่ม จำนวน 367 ตัวอย่าง ตรวจหาไข่และตัวอ่อนพยาธิโดยวิธี Formalin Ether Concentration สำรวจโฮสต์กึ่งกลาง ได้แก่ หอยน้ำจืด ด้วยวิธี Shedding และ Crushing และปลาน้ำจืดวงศ์ปลาตะเพียน ด้วยวิธี Digestion ผลการตรวจอุจจาระ จำนวน 449 ราย ตรวจพบการติดโรคหนอนพยาธิ 23 ราย (5.1%) จำแนกเป็น 4 ชนิด ผลการตรวจหาการติดตัวอ่อนพยาธิใบไม้ในหอยน้ำจืด พบติดตัวอ่อนพยาธิใบไม้ 4 ชนิด จำแนกตัวอ่อนพยาธิใบไม้ได้จำนวน 7 ชนิด ผลการศึกษาการติดตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะติดต่อในปลาน้ำจืดวงศ์ปลาตะเพียน พบติดเชื้อ 201 ตัว (49.5%) ใน 7 ชนิด จำแนกกลุ่มพยาธิใบไม้ระยะติดต่อที่ตรวจพบได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดเล็กของสัตว์และคน และกลุ่มพยาธิใบไม้ตับของคน (O. viverrine) การศึกษาครั้งนี้ตรวจพบ O.viverrini ทั้งในคนและปลาน้ำจืด แสดงว่าพยาธิใบไม้ตับยังมีการแพร่ระบาดในพื้นที่ศึกษา จึงควรมีการเฝ้าระวัง ป้องกัน ให้ความรู้เรื่องโรคหนอนพยาธิกับประชาชน เพื่อลดอัตราการความชุกโรคหนอนพยาธิจนไม่เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุข
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
สุวัชร วัชรเสถียร, จำลอง หะริณสุต. การศึกษาค้นคว้าเรื่องหนอนพยาธิในประเทศไทย. ว. จดหมายเหตุทางการแพทย์ของแพทย์ สมาคมแห่งประเทศไทย 2500; 40: 309-338.
สมพร พฤกษราช, เชาวลิตร จีรีดิษฐ์, อเนก สถิตไทย, ทวีศักดิ์ ลีดลรัศมี และสุมิตร กิจวรรณี. การศึกษาหาความชุกชุมและความรุนแรงของโรคหนอนพยาธิลำไส้ในชนบท ประเทศไทย พ.ศ. 2523-2524. ว. โรคติดต่อ 2525; 8: 245-269.
Muennoo C, Maipanich W, Sanguankiat S, Anantaphruti MT. Soiltransmitted Helminthiases among fisherman, farmers, gardeners and townspeople in Southern Thailand. J Trop Med Parasitol 2000; 23: 7-11.
กองโรคติดต่อทั่วไป. รายงานการศึกษาสถานการณ์โรคหนอนพยาธิและโปรโตซัวในลำไส้ของประเทศไทย พ.ศ. 2562. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2562.
Sripa B, Kaewkes S, Intapan PM, Maleewong W, Brindley, PJ. Foo-bornnetrematodiase in Southeast Asia: epidemiology, pathology, clinical manifesta-tion and control. Adv Parasitol 2010; 72: 305-50.
Radomyos B. Wongsaroj T, Wilairatana P, Radomyos P, Praevanich R, Meesomboon V, Jongsuntikul P. Opisthorchiasis and intestinal fluke infection in northern Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1998; 29(1): 123-7.
Sukontason K, Piangjai S, Muangyimpong Y, Sukontason K, Methanitikorn R, Chaithong U. Prevalence of trematode metacercariae in cyprinoid fish of Ban Pao District, Chiang Mai Province, Northern Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1999; 30(2): 365-70.
Namsanor J. Kiatsopit N, Laha T, Andrews RH, Petney TN, Srithithaworn P. Infecttion Dynamics of Opithorchis viverrini Metaercariae in Cyprinid fishes from two Endemic Areas in Thailand and Lao PDR. Am J Trop Med Hyg 2020; 102(1): 110-116.
Brandt AM. The Non-Marine Aquatic Mollusca of Thailand. Arch Molluskenkund 1974; 105:1-423.
Yamaguti S. A synoptical review of life histories of digenetic Trematode of Vertrebrates. Kyoto: Japan 1975: 1-590.
นิมิตร มรกต, เกตุรัตน์ สุขวัจน์. ปรสิตวิทยาทางการแพทย์: โปรโตซัวและหนอนพยาธิ เชียงใหม่. ว. โครงการตำรา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2539: 402.
วรยุทธ นาคอ้าย, สุภัทรตา ศรีทองแท้, อัมภัส วิเศษโมรา และ อรนาถ วัฒนวงษ์. อัตราการติดโรคหนอนพยาธิในประชาชน และโฮสต์กึ่งกลางในสิ่งแวดล้อมพื้นที่ โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำ อ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์. ว. สหวิชาการเพื่อสุขภาพ 2562; 1(1): 51-61.
สำนักโรคติดต่อทั่วไป. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเฝ้าระวังเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบต่อการแพร่โรคพยาธิใบไม้เลือดพยาธิใบไม้ตับที่มีหอยเป็นโฮสต์กึ่งกลางนำโรคและมีชีวิตครบวงจรในน้ำในพื้นที่โครงการประตูระบายน้ำแม่สอย จังหวัดเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2559. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2559.
สำนักโรคติดต่อทั่วไป.รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเฝ้าระวังโรคหนอนพยาธิในประชาชนและโฮสต์กึ่งกลางในสิ่งแวดล้อมพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้ จังหวัดพะเยา ปีงบประมาณ 2560. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค 2560.
ทองรู้ กอผจญ, อรนาถ วัฒนวงษ์, ฐิติมา วงศาโรจน์, อารักษ์ วงศ์วรชาติ และชูศักดิ์ นิธิเกตุกุล. โรคหนอนพยาธิพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทร จังหวัดชลบุรี. ว. โรงพยาบาลสกลนคร 2564; 24(1): 79-93.
สำนักโรคติดต่อทั่วไป. โครงการเฝ้าระวังเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบต่อการแพร่โรคหนอนพยาธิ ตามแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมพื้นที่อ่างเก็บน้ำแม่สอดตอนบน จังหวัดตาก ปีงบประมาณ 2561. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค 2561.
Waikagul J. Opisthorchis viverrini metacercaria in Thai freshwater fish. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1998; 29(2): 324-326.
Boonchot K and Wongsawad C. A Survey of helminthes in cyprinoid fish from the Mae Ngad Somboonchon reservoir, Chiang Mai province, Thailand. Southeast Asian J. Trop. Med. Public Health 2005; 36(1): 103-107.