ภาวะความเครียดของบุคลากร สํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

อมรา พรามพิทักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาชนิดหาความสัมพันธ์ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะความเครียด และ ความสัมพันธ์ของภาวะความเครียดกับปัจจัยทางสังคม ของบุคลากรสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัด พิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากร 385 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดความเครียดของโรงพยาบาลสวนปรุง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการทดสอบไคสแควร์


ผลการวิจัย พบว่า ภาวะความเครียดของบุคลากรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก-มากที่สุด รองลงมาคือ ระดับ ปานกลาง และ ระดับไม่รู้สึก-น้อย ร้อยละ 50.1, 39.1 และ 10.7 ตามลําดับ ซึ่งสาเหตุ-อันดับแรก คือ ปัญหาการเงิน รองลงมาคือ ปัญหาครอบครัว และปัญหาเรื่องงาน ร้อยละ 58.1, 52.8 และ 37.9 ตามลําดับ วิธีการจัดการกับ ความเครียด ด้วยตนเอง ใช้วิธีการยอมรับสถานการณ์มากที่สุด รองลงมาคือ ออกกําลังกาย และหางานอดิเรกทํา ร้อยละ 60.3, 25.1 และ 19.4 ตามลําดับ วิธีการจัดการกับความเครียดด้วยบุคคลอื่น ใช้วิธีปรึกษาภายในครอบครัวมากที่สุด รองลงมาคือ ปรึกษาภายนอกครอบครัวเพื่อน และปรึกษาหัวหน้างาน ครู อาจารย์ ร้อยละ 58.5, 22.7 และ 8.4 ตามลําดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า อายุ และ ระยะเวลาการ ปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับภาวะความเครียดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

พัชราวัลย์ เรืองศรีจันทร์ และศิริลักษณ์ ศุภปิติพร.ความเครียดของพยาบาล ความคิดเห็นต่อการเตรียมพร้อมเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนระดับอินเตอร์เนชั่นแนล. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศ ไทย 2554; 56(4): 425-436.

อรัญญา จอดนอก. ความเครียดและการปรับตัวของบุคลากรโรงพยาบาลกรุงเทพกรุงเทพมหานคร.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (สุขศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ฉบับอัดสำเนา; 2544.

Selye, H. The Stress of life. (Rev.ed). New York:McGraw Hill Book Co; 1976.

วัชระ ไชยจันดี. ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความเครียดในการสอนภาคปฏิบัติของอาจารย์นิเทศวิทยาลัยพยาบาลสังกัดพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการแนะแนว). กรุงเทพฯ :บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. ฉบับ

อัดสำเนา; 2541.

Lazarus, R.S. and Folkman, S. Stress appraisal and coping. New York: Springer Publishing Company;1984.

พรรณวิภา บรรณเกียรติ. ช่วยได้อย่างไร. เมื่อจิดใจตื่นตระหนก. มศว ชุมชน 2548, เมษายน-พฤษภาคม;2(4): 3,8.