ลักษณะของผู้รับการบําบัดสารเสพติดที่เป็นเด็กและเยาวชน ในจังหวัดตาก ปีงบประมาณ 2553-2555

Main Article Content

สุพร กาวิน
จรรยา ใจหนุน
บุณยานุช เดชบริบูรณ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการสํารวจลักษณะของเด็กและเยาวชนผู้เสพสารเสพติด ที่เข้ารับการบําบัดในสถานบริการ สาธารณสุขของรัฐในจังหวัดตาก ระหว่างปีงบประมาณ 2553-2555 โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากระบบ รายงาน ระบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหาสารเสพติด ของกระทรวงสาธารณสุข โดยจําแนกเป็นกลุ่มอายุ 12-17 ปี และกลุ่มอายุ 18-24 ปี ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงปี 2553-2555 มีผู้ที่เข้ารับการบําบัดรวม 4,380 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มเด็ก และเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปี รวม 1,678 ราย (ร้อยละ 38.3) แยกเป็นกลุ่มอายุ 12-17 ปี 453 ราย (ร้อยละ 10.3 ของผู้ เข้ารับการบําบัดทั้งหมด) และกลุ่มอายุ 18-24 ปี 1,225 ราย (ร้อยละ 28.0) โดยทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มี สัญชาติไทย และนับถือศาสนาพุทธ กลุ่มอายุ 12-17 ปี มีสถานภาพโสดและว่างงานมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับ กลุ่มอายุ 18-24 ปี สําหรับความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาของทั้งสองกลุ่ม พบว่าส่วนใหญ่อยู่ด้วยกันอย่างราบรื่น โดยพบร้อยละ 70.0 ในกลุ่มอายุ 12-17 ปี ซึ่งสูงกว่าร้อยละ 67.5 ในกลุ่มอายุ 18-24 ปี ส่วนสาเหตุในการใช้สารเสพ ติดครั้งแรก พบว่าส่วนใหญ่อยากลอง โดยพบร้อยละ 64.7 ในกลุ่มอายุ 12-17 ปี ซึ่งสูงกว่าร้อยละ 59.6 ในกลุ่มอายุ 18-24 ปี สาเหตุรองลงไป คือ เพื่อนชวน โดยพบร้อยละ 30.7 ในกลุ่มอายุ 12-17 ปี และร้อยละ 33.5 ในกลุ่มอายุ 1824 ปี สําหรับสารเสพติดที่ใช้ก่อนเข้ารับการรักษาครั้งนี้ พบว่าส่วนใหญ่ของทั้งสองกลุ่มใช้ยาบ้า โดยพบร้อยละ 84.5 และ 85.6 ในกลุ่มอายุ 12-17 ปี และ 18-24 ปี ตามลําดับ ส่วนสารระเหยพบในกลุ่มอายุ 12-17 ปี (ร้อยละ 7.7) มากกว่ากลุ่มอายุ 18-24 ปี (ร้อยละ 2.7) การบําบัดสําหรับกลุ่มอายุ 12-17 ปี เป็นการสมัครใจ (ร้อยละ 57.6) มากกว่า การบังคับบําบัด (ร้อยละ 42.4) ส่วนกลุ่มอายุ 18-24 ปี การบังคับบําบัด (ร้อยละ 57.5) มากกว่าการสมัครใจ (ร้อยละ 33.2) การประเมินผลการบําบัดพบว่าร้อยละ 48.7 ในกลุ่มอายุ 12-17 ปี และร้อยละ 42.2 ในกลุ่มอายุ 18-24 ปี สามารถหยุดเสพได้ทั้งหมด จนถึงวันจําหน่ายจากโปรแกรมการรักษา อย่างไรก็ตามทั้งสองกลุ่มมีผู้ขาดการรักษา ร้อยละ 4.0

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.ระบบรายงาน ระบบติดตามและฝ้าระวังปัญหายาเสพ

ติด (บสต.) ปี 2555. กรุงเทพมหานคระ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555.

คณะกรรมการบริหารเครือข่ายองค์กรวิชาการสารเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม. สังเคราะห์

สถานการณ์สารเสพติด พ.ศ. 2545-2555.กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์: 2556.

พรรณณี วาทิสุนทร, กฤติกา เฉิดโฉม. การศึกษาเปรียบเทียบผลสำร็จของการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดระบบบังคับบำบัดและระบบสมัครใจ.

กรุงเทพมหานคร: บอร์นทูบีพับลิชซึ่ง; 2552.

Sherman SG, German D, Sirirojn B, Thompson N,Aramrattana A, Celentano DD. Initiationmethamphetamine use among young Thai drug users: A qualitative study. J Adolesc Health 2008; 42:36-42.

Sherman SG. Suteliffe CG, German D, Sirirojn B.Aramrattana A, Celentan DD. Pattems of risky behaviors associated with methamphetamine use among young Thai adults: A latent class analysis. J Adolesc Health 2009; 44: 169-75.

Latimore AD, Rudolph A, German D, Sherman SG,Srirojn B, Aramrattana A, et al. Predictors of incident and recurrent participation in the sale or delivery of drugs for profit among young methamphetamine users in Chiang Mai Province Thailand, 2005-2006. Int J Drug Policy 2011; 22: 259-66.

Chomchai C, Manaboriboon B. Stimulant Methamphetamine and Dextromethorphan Use Among Thai Adolescents: Implications for Health of Women and Children. J Med Toxicol 2012; 8: 291-4.

คณะกรรมการบริหารเครือข่ายองค์กรวิชาการสารเสพติด. การสำรวจครัวเรือนเพื่อประมาณการผู้เกี่ยวข้องกับสารเสพติดในปี 2554. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม; 2555.

เสาวนีข์ เตชะไพบูลย์. บทบาทผู้ทิพากษาสมทบศึกษาเฉพาะกรณีการแก้ไขปัญหาเยาวชนติดสารเสพติดภายหลังการปลดปล่อยโทษ. กรุงเทพมหานคร:วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร: 2540.

อมรวิชช์ นาครทรรพ. เด็กไทยในมิติวัฒนธรรม.พิมพ์ครั้งที่ 33. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระราชปถัมภ์: 2548.

สุรพล ไพธิสังขหิรัญ. ปัจจัยที่มีผลต่อการติดยาเสพติดของเค็กและเยาวชน ศึกษากรณีผู้เข้ารับการบำบัดรักษาที่โรงพยาบาลธัญญารักย์.

กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏพระนคร: 2547.