คุณภาพชีวิตของผู้พิการ อําเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้พิการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้พิการที่สุ่มแบบแบ่งชั้น ภูมิในอําเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี จํานวน 347 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสําเร็จรูปด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต และวิเคราะห์เปรียบเทียบ คุณภาพชีวิตด้วยสถิติ t-test และ ONE-WAY ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตโดยรวมในระดับปานกลางร้อยละ 75.2 และมีคุณภาพชีวิตด้านกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคมและด้านสิ่งแวดล้อมในระดับปานกลางทุกด้าน ร้อยละ 76.2,65.5,57.0 และ 70.4 ตามลําดับ เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบ ผู้พิการที่มีปัจจัยคุณลักษณะประชากร ได้แก่ อายุ รายได้ต่อเดือน ประเภทความพิการ การดูแลตนเองด้านการแต่งตัว ทําความสะอาดตนเอง การจัดการขับถ่ายปัสสาวะ การ จัดการขับถ่ายอุจจาระและการดูแลตนเองขณะมีประจําเดือน แตกต่างกัน จะมีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้พิการมีความต้องการช่วยเหลือด้านเบี้ยยังชีพ และการจัดการด้านการทํางาน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้การโดยหน่วยงานภาครัฐควรนําข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ เป็น ปัจจัยพิจารณากําหนดนโยบายและแผนปฏิบัติการในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต โดยสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับ ภาคเอกชนและองค์กรในชุมชน ในด้านการจัดหางานที่เหมาะสม การฝึกอบรมสร้างเสริมอาชีพ การจัดอบรม สมาชิกในครอบครัวเพื่อการดูแลอย่างถูกต้อง การจัดบริการด้านสาธารณสุขเพื่อการเข้าถึงบริการอย่างครอบคลุม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
WHOQOLGroup.Development of the WHOQOL:Rationale and current status. International Journal of
Mental Health 1994 23:24-56
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ .รายงานสถานการณ์คนพิการ ปี 2552.
กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2552.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่ายาง.(2557). การสำรวจสภาวะสุขภาพผู้พิการ
Krejcic, R.V. & Morgan, W.D, (1970). Educationaland Psychological Mcasurement 1970,(30): 607-610.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล วีระวรรณ ตันตินิวัฒน์สกุลวนิดา พุ่มไพศาลชัย กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ และวรารี
พรมานะรังกุล.เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัดและ 26 ตัวชี้วัด.
วารสารกรมสุขภาพจิต 2541 .5(3) :4-15.
ยศพล เหลืองโสมนภา สาคร พร้อมเพราะ และสุกัญญา ขันวิเศษ. คุณภาพชีวิต ปัญหาและความต้องการของผู้พิการในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้างจังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลีนิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า.2554 , 28(2): 98-109.
Hosain, G.M., A Tkison, D. &Undeswood, P.Joumal of Health, Population and Nutrition 2002 ,
(4):297-305.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจความพิการ พ.ศ.2550การสำรวจความพิการ พ.ศ. 2550.กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.2551.
ณฤทัย เกตุหอม.ความต้องการได้รับสวัสดิการทางสังคมของคนพิการในเขตอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี.
วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลขอลงกรณ์ ในพระบรม
ราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี. 2555.