ความสามารถในการควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงด้วยยาของผู้ป่วยที่มารับบริการคลินิกโรคเรื้อรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) นําเสนอบทวิเคราะห์ความสามารถในการควบคุมภาวะความดัน โลหิตสูงของผู้ป่วยนอก ที่มารับบริการที่คลินิกผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยม และ (2) นําเสนอผลการ ประเมินผลลัพธ์ ในการใช้ยาควบคุมความดันโลหิตสูงของผู้ป่วย ใน 3 ประเด็น คือ จํานวนชนิดของยาที่ผู้ป่วยใช้ ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงได้ตามเป้าหมาย จํานวนผู้ป่วยที่สามารถควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงได้ตาม เป้าหมายจนสามารถลดขนาดยาที่ใช้ได้ และจํานวนผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงได้ตาม เป้าหมาย รูปแบบการวิจัยเป็นแบบพรรณนาย้อนหลัง ทําการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่มารับบริการอย่างน้อย 3 ครั้งช่วง ระยะเวลาที่ทําการศึกษาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2554 - 30 มิถุนายน 2555 โดยใช้ข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย และ คอมพิวเตอร์ โปรแกรม M-record ซึ่งมีทั้งสิ้น จํานวน 448 คน สุ่มตัวอย่าง 150 ตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย จากเลข ทะเบียนผู้ป่วยโรงพยาบาล ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ และความถี่
ผลการศึกษาพบว่า (1)ผู้ป่วยที่มารับบริการคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยมส่วนใหญ่ สามารถ ควบคุมภาวะความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเพศหญิง (ร้อยละ 50.6) ที่สามารถ ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์ กลุ่มผู้ป่วย อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 35.2) เป็นกลุ่มใหญ่สุดที่ สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์ ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเขต (ร้อยละ 55.3) ที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์ (2)ผลลัพธ์ในการใช้ยาควบคุมความดันโลหิตสูงของ ผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วย 53 ราย (ร้อยละ 35.3) สามารถควบคุมความดันโลหิตได้โดยใช้ยา 1 ชนิด ผู้ป่วย 40 ราย (ร้อยละ 26.6) สามารถควบคุมความดันโลหิตได้โดยใช้ยา 2 ชนิด ผู้ป่วย 5 ราย (ร้อยละ3.3) สามารถควบคุมความดันโลหิต ได้โดยใช้ยา 3 ชนิด และผู้ป่วย 1 ราย (ร้อยละ 0.6)สามารถควบคุมความดันโลหิตได้โดยใช้ยา 4 ชนิด ผู้ป่วยที่ สามารถลดขนาดยาที่ใช้ได้มีทั้งสิ้น 5 ราย (ร้อยละ 3.3) สําหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตตาม ค่าเป้าหมายได้มีทั้งสิ้น 38 ราย (ร้อยละ 25.3)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
สำนักควบคุมโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข.รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา; 2556
โรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยม. รายงานประจำปีงบประมาณ
โรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยม. บัญชีรายการยาโรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยม; 2555.
ประชุม สุวัตถี. การสำรวจด้วยตัวอย่าง : การชักตัวอย่างและการวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร:สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2552.
สมาคมความคันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์
แห่งประเทศไทย; 2551.
World Health Organization. Factor affectingmedication adherence. Retrives October, 10,2009, from http://www.connected-health org; 2003.
สุภัณลินี ปรีชากุล. ผลการให้การบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกต่อความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยโรความคันโลหิตสูงในโรงพยาบาลสุโขทัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาเภสัชกรรมคลินิก)]:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: 2544.
นรรัตน์ สมเพชร. ผลของการกระตุ้นด้วยวิธีโทรศัพท์โดยเภสัชกรต่อความร่วมมือในการใช้ยาลดความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลดอยสะเก็ด จังหวัด
เชียงใหม่.การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: 2549.
National High Blood Pressure Educational Program.The 7" Report of Joint National Committec on Prevention ; Detection ; Evaluation ; and Treatment of High Blood Pressure. NIH publication; 2003.
ราม รังสินธุ์และคณะ. การวิจัยประเมินผลการดูแลสู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความ ดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2555:
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2555.
ศุภวรรณ กฤษณทรัพย์. การศึกษาต้นทุน (ค่ายา) :ผลลัพธ์ในการควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงด้วยยาของผู้ป่วยที่มารับบริการคลินิกผู้ป่วยนอก.วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล. 2552 :ปีที่1 เล่มที่ 2:136-145.