ผู้ป่วยโรคคอตีบชายแดนไทย-พม่า จังหวัดตาก ปี 2556-2557: ลักษณะทางคลินิกและแนวทางการป้องกันควบคุมโรค

Main Article Content

กู้เกียรติ ก้อนแก้ว
ภิเษก ศิระวงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ป่วยโรคคอตีบชายแดนไทย-พม่า จังหวัดตาก ปี 2556-2557 ซึ่งมี 2 ราย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกําหนดแนวทางการควบคุมและป้องกันโรคคอตีบของจังหวัดตาก ดําเนิน การศึกษาโดยรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยจากการทบทวนเวชระเบียน ผลการสอบสวนโรค และการควบคุมป้องกัน โรค ของทีม Surveillance and rapid response team (SRRT) ในพื้นที่ที่พบผู้ป่วย จากการศึกษาพบผู้ป่วย 1 ราย ในปี พ.ศ.2556 ในเขตอําเภอพบพระ จังหวัดตาก และอีก 1 ราย ในปี พ.ศ.2557 ซึ่งมาจากหมู่บ้านฝั่งพม่าตรงข้ามอําเภอ แม่ระมาด จังหวัดตาก โดยผู้ป่วยทั้ง 2 รายเป็นเด็กหญิงชาวพม่า อายุ 5 และ 7 ปี ตามลําดับ ผู้ป่วยรายแรกเกิดและโต ในอําเภอพบพระ จังหวัดตาก ส่วนรายที่ 2 เกิดและโตในหมู่บ้านประเทศพม่า ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ คอบวม หายใจลําบาก ตรวจพบแผ่นฝ้าขาวในลําคอ และมีเม็ดเลือดขาวในเลือดสูงกว่าปกติ (> 10,000 เซลล์/ลบ.ม ม.) โดยผู้ป่วยรายแรกนั้นตรวจเพาะเชื้อจากลําคอพบ Corynebacterium diphtheriae ชนิดสร้างสารพิษ ส่วนรายที่ 2 นั้นไม่ได้เก็บตัวอย่างจากลําคอตรวจเพาะเชื้อ ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ การเจาะคอ และ diphtheria antitoxin ผู้ป่วยรายแรกรอดชีวิตภายหลังการรักษาในโรงพยาบาล 29 วัน ส่วนรายที่ 2 เสียชีวิตภายหลัง การรักษาในโรงพยาบาล 1 วัน ผู้ป่วยทั้ง 2 รายไม่มีประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบมาก่อน การศึกษานี้ แสดงให้เห็นถึงโอกาสของการเกิดการระบาดของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคคอตีบ และความจําเป็นใน การกําหนดมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งการเตรียมความพร้อมใน การดําเนินงานควบคุมป้องกันโรคที่รวดเร็วเมื่อพบผู้ป่วยหรือมีการระบาดเกิดขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

Center for Disease Control and Prevention.Diphtheria [Internet]. 2014 [cited 2014 Sep 30]; Available from:http://www.cdc.gov/diphtheria./clinicians.html.

สิริลักษณ์ รังสีวงศ์, พจมาน ศิริอารยาภรณ์.สถานการณ์การระบาคของโรคคอตีบ ปี พ.ศ.2555 และข้อเสนอแนะ. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาควิทยาประจำสัปดาห์ 2556; 44: 1-8.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.โรคคอตีบรักษาหายได้. เอินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 22ก.ย. 2557]; เข้าถึงได้จากhttp://www.thaihcalth.or.th/content/25393.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพบพระ. รายงานการประชุมประจำเดือนกรกฎาคม 2556. ตาก: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพบพระ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก; 2556.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่ระมาด. รายงานการประชุมประจำเดือนสิงหาคม 2557. ตาก: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่ระมาคสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก; 2557.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ตำราวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2556. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา; 2556.

Tharmaphornpilas P, Yoocharoan P, Prempree P,Youngpairoj S, Sriprasert P, Vitek CR. Diphtheria in

Thailand in the 1990s. J Infect Dis 2001; 184: 1035-40.

Centers for Discase Control and Prevention (CDC).Diphtheria outbreak--Saraburi Province, Thailand,

MMWR Morb Mortal Wkly Rep 1996; 45: 271-

Pancharoen C, Mckmullica J, Thisyakom U,Nimmannitya S. Clinical features of diphtheria in Thai

children: a historic perspective. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2002; 33: 352-4.

Pantukosit P, Arpomnsuwan M, Sookananta K. A diphtheria outbreak in Buri Ram, Thailand. Southeast

Asian J Trop Med Public Health 2008; 39: 690-6.

กรมควบคูมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานเมื่อพบผู้ป่วยสงสัยโรคคอตีบและการสร้าง

เสริมภูมิคุ้มกันโรค. นนทบุรี: กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข; 2556.