การวิเคราะห์ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ของสตรีวัยรุ่นและแนวทางป้องกันที่เหมาะสม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ใน สตรีวัยรุ่นที่มารับบริการในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์และเพื่อค้นหาแนวทางป้องกันที่เหมาะสม วิธีการศึกษา โดย ทําการศึกษากับประชากรที่เป็นสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุระหว่าง 11-19 ปีและมารับบริการที่แผนกสูตินารีเวช โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ในช่วงเวลาเดือนกุมภาพันธ์ 2558 มีนาคม 2558 คํานวณขนาดตัวอย่างเป็น 154 คนเก็บ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประวัติผลการตรวจรักษาโดยแพทย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ Binary logistic Regression
ผลการศึกษาพบว่า ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ด้านภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 36.07 ความสัมพันธ์ ระหว่างการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์กับกลุ่มอายุในสตรีตั้งครรภ์ ได้แก่ ภาวะโลหิตจาง ทารกน้ําหนัก แรกคลอดต่ํา และคลอดก่อนกําหนด ค่า p-value เท่ากับ 0.009 , 0.026 และ 0.031 ตามลําดับ และแนวทางการ ป้องกันที่เหมาะสมในการลดภาวะแทรกซ้อนได้แนวทาง 8 แนวทางโดยแนวทางการป้องกันรักษาภาวะโลหิตจางมี ค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับมากสุด สรุปได้ว่าหญิงตั้งครรภ์ควรได้รับการดูแลเยียวยาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมและควรได้รับการรักษาที่เหมาะสมเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
สกุณา บุญนรากร. การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมทุกช่วงวัย.สงขลา: เทมการพิมพ์,255.
แววดาว พิมลธเรศ.อุบัติการณ์การตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในโรงพยาบาลหนองใหญ่จังหวัดชลบุรีวารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า 2555, 29(4): 190-195.
กฤษณาบัวแสง ผลการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่โรงพยาบาลบางละมุง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า2553;27:155-162.
Watcharaseranee N, Pinchantra P, Piyaman S.The incidence and complications of teenagepregnancy at Chonburi Hospital. J Med Assoc Thai 2006; 89[Suppl 4]: S118-23.
พรรณพิไลศรีอาภรณ์. การพยาบาลครอบครัววิกฤต: การตั้ รภ์ในวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: เรือนแก้ว; 2537.
ศรุตยารองเลื่อน, ภัทรวลัยตลึงจิตร, สมประสงค์ศิริบริรักษ์. การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น: การสำรวจปัญหาและความต้องการการสนับสนุนในการรักษาพยาบาลวารสารพยาบาลศิริราช 2554. 3(2) : 29-35.
มนฤดีเตชะอินทร์และ พรรณี ศิริวรรธนาภา.การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (ออนไลน์) (ข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2558 สืบค้นจากhttp://www.med.cmu.ac.th/dcpt/obgym/2011.
พีระยุทธสานุกูลและเพียงจิตต์ธารไพรสาณท์.ผลการตั้งครรภ์และการคลอดของวัยรุ่นในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 6
วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ2552,3(1): 97-102.
พัตธนี วินิจจะกูล,วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์. การขาดธาตุเหล็กและโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบ
สาธารณสุข,2542.
Buhachat R, Pinjaroen S. Teenageprimigravida and low birthweight delivery.
Songkla Med J 1998:16:113-123.
ศิริกุลอิศรานุรักษ์.ทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อย :ปัญหาสุขภาพคนไทยที่ยังแก้ไม่ตกวารสารสาธารณสุขและการพัฒนา 2549, 4(1): 135-
Rowe and Wright (1999): The Delphi technique as a forecasting tool: issucs and
analysis. International Journal of Forecasting, Volume 15, Issue 4, October 1999.