ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว

Main Article Content

สุเทพ กระต่ายน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม ต่อความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันโรค พฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก และดัชนีความชุกลูกน้ํายุงลายของแกนนําสุขภาพประจําครอบครัวที่อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 1 บ้านป่ากล้วย ตําบลท่าชัย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่าย 78 คนใช้เครื่องมือ ในการศึกษาได้แก่ โปรแกรม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คือ จัดการเรียนรู้ 3 กิจกรรม คือ 1)บรรยายให้ความรู้ 2) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จากผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก 3)ทํานวัตกรรมโดยการให้แกนนําสุขภาพประจําครอบครัวมีส่วนร่วม มีการ ให้แรงสนับสนุนกับแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว โดยการออกเยี่ยมบ้านตรวจลูกน้ํายุงลาย โดยผู้วิจัยและ อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน พร้อมให้คําแนะนําในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ independent t-test


ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ด้านการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของ โรค และการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติป้องกันโรคไข้เลือดออก ภายหลังการจัดโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนน เฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P-value<0.001) แต่คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ประโยชน์ในการ ปฏิบัติป้องกันโรคไข้เลือดออก คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ก่อนและหลังการ จัดโปรแกรมไม่แตกต่างกัน ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ํายุงลาย ต่ํากว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P-value<0.001)

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

วิชัย เทียนถาวร.(2556). สถานการณ์โรคไข้เลือดออก.สืบคั้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2556,www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid

นิพนธ์ ชินานนท์เวช.( 2556).รายงานสถิติโรคไข้เลือดออก.สืบคั้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2556,http://wwwnc.cdc.gov/eid/article/14/8/08-0032_article

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค (2556).รายงานสถานการณ์โรคคิดต่อโดยแมลง.สืบคั่นเมื่อ 8 เมพายน 2556,www.thaivbd.org

บุญใจ ศรีสถิตนรากูล( 2553).ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์(พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพฯ:ยูแอนด์ไอเอนเตอร์ มีเดีย.

รัศมน ติริโชต.(2551).ประสิทธิผลของไปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการให้แรงสนับสนุนทางสังคมต่อความรู้การรับรู้ พฤดิกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลป้เลาอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์.วารสารสุขภาพภาคประชาชน ภาคเหนือ. ปีที่ 20 ฉบับพิเศษ 4 (.เม.ย.2551) หน้ 50-54.

บัณคิษฐ์ สร้อยจักร.(2547). การพัฒนาพฤดิกรรมการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในอาสาสมัตรสาธารณสุข อำเภอคาเขื่อนแก้ว จังหวัคยโสธร.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ.สืบค้น เมษายน 2557,www.mahalib.nus.ac.th/web/dubinfu

พูนสุข ช่วยทอง, บรรเทิง สุพรรณ์, และเปรมวดี คฤหเคช (2556).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุม โรคไช้เลือดออก จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารเกื้อการุณย์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 2กรกฎาคม-ชันวาคม 2556