การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

Main Article Content

ธรรมรัตน์ เพชรี
สุขใจ ถือแก้ว
ธานี ถือแก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาประสิทธิผล รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านโปร่งไผ่ อําเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ดําเนินการ 3 ระยะคือ1) พัฒนารูปแบบการดูแลโดยวิเคราะห์สถานการณ์และ ปัญหาการให้บริการผู้ป่วย 2)ทดลองใช้รูปแบบ และ 3)ประเมินประสิทธิผลรูปแบบหลังดําเนินงาน 6 เดือน รวบรวมข้อมูลจากแฟ้มสุขภาพประจําครอบครัวและทะเบียนผู้รับบริการ สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงประกอบด้วย 1)การสร้าง เครือข่ายดูแลผู้ป่วยในชุมชนโดยมีขั้นตอนสําคัญ คือ 1.1)ให้ความรู้เรื่องโรคการเจาะเลือด การวัดความดันโลหิต แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน 1.2)จัดทําแผนดําเนินงานแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน 1.3 ผู้ป่วย รวมกลุ่มพร้อมเลือกตั้งหัวหน้ากลุ่มให้มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วย 1.4)สร้างผู้นําทํากิจกรรมกลุ่มในหมู่บ้าน1.5)จัดคู่หูผู้ป่วย ให้มีหน้าที่ดูแลกระตุ้นเตือนคู่ตนเอง 2.ให้บริการเชิงรุกในหมู่บ้าน มีขั้นตอนสําคัญ คือ 2.1)เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตําบลเตรียมการให้บริการก่อน1-2 วัน2.2) ผู้นําชุมชนประชาสัมพันธ์ก่อนให้บริการ 1 วัน2.3) หัวหน้ากลุ่มผู้ป่วยในหมู่บ้านจัดเตรียมสถานที่บริการ 2.4) อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านตรวจเลือดและวัด ความดันโลหิตผู้ป่วย 2.5) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลให้บริการพร้อมให้สุขศึกษาเป็นรายบุคคล และรายกลุ่ม 2.6) ผู้ป่วยทํากิจกรรมกลุ่ม ประสิทธิผลของรูปแบบทําให้อัตราการขาดนัดของผู้ป่วยลดลงจากร้อยละ 35.50 เป็นร้อยละ 0.59 ความแออัดของการบริการลดลงเวลาให้บริการต่อครั้งจาก 8 เป็น 4 ชั่วโมง การให้สุขศึกษา ผู้ป่วยครอบคลุมมากขึ้นพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยดีขึ้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ําตาลในเลือด อยู่ในระดับที่ปกติเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 26.56 เป็นร้อยละ57.8เมีน้ําตาลสะสมน้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 เพิ่มขึ้นจากร้อย ละ1.56 เป็นร้อยละ 10.94 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมความดันโลหิตอยู่ในระดับที่ปกติเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 69.50 เป็นร้อยละ89.36

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย.(2554).แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร : บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด.2554.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสูข. แนวทางการคัดกรองและการคูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. 2554.

สมนึก ปัญญาสิงห์. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.ภาควิชาพัฒนาสังคม,คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2542

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์.การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนโรงเรียน ประถมศึกษาในเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2540

วงเดือน ภาชา และคณะ. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลชัยภูมิ. พิมพ์ครั้งที่ 1นนทบุรี : สำนักงานกิจการกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2553

สมใจวินิจกุลและนิตยาสุขชัยสงค์. ประสิทธิผลการใช้โปรแกรมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารเกื้อการุณย์ ปีที่ 20ฉบับที่ 2 กรกฎาคม --ธันวาคม 2556;84-97. 2554.

ชิต นิลพานิช และกุลธน ธนาพงศธร.การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา ชนบท. เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้ทั่วไปสำหรับการพัฒนาระดับคำบลหมู่บ้าน หน่วยที่ 8.พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.2532.

นันทพร บุษราศัมวดี , ยุวมาลย์ ศรีปัญญวุฒิศักดิ์.การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ปัวยเบาหวานโรงพยาบาลนครนายก. วารสารการพยาบาลแลการศึกษาปีที่ฉบับที่ 2 พฤมภาคม-สิงหาคม 2555;114-130.2554.

สมหวัง ซ้อนงาม และคณะ. พฤติกรรมการบริ โภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มี HbAIC มากกว่า 7อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก . รายงานการวิจัยของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. 2555.

ทิพารัตน์ คงนาวัง และจุฬาภรณ์โสตะ.ผลของการพัฒนารูปแบบการคูแลผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว และชุมชน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2554.