สภาพปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมในผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อน จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจสภาพความพิการปัญหาเศรษฐกิจและ สังคม และหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนในชุมชนจังหวัดพิษณุโลก จํานวนทั้งสิ้น 148 ราย เป็นผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนที่ผ่านการคัดกรองปัญหาเบื้องต้นจํานวน 23 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุด ประเมินความพิการแบบเร็ว (Rapid Disability Appraisal toolkit: RDA tool kit) สถิติที่ใช้ในการอธิบายข้อมูล เบื้องต้นคือ 1.สถิติเชิงพรรณนา 2.วิเคราะห์ตัวแปร 2 ตัวด้วย Independent-Sample T-Test 3.การวิเคราะห์การผัน แปรทางเดียว One - way ANOVA 4.สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Peason's produduct moment correlation coefficient)
ผลการศึกษาในผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนในชุมชน พบว่าส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป สถานภาพคู่ เรียนหนังสือจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ ที่อยู่อาศัยมีความคงทน ไม่มี รถจักรยานยนต์ ไม่มีสวน นาข้าว และสัตว์เลี้ยงเพื่อเสริมรายได้ ลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกันแตกต่างในเรื่องการมี งานทําและหนี้สิน ผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนส่วนใหญ่ได้รับการรักษาด้วยยา MDT และมีความพิการในระดับ 2 เป็นจํานวนมากเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง และไม่ได้ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายอย่างสม่ําเสมอ มีแผลเรื้อรังร้อยละ 60.87 ใช้เครื่องช่วยความพิการอย่างน้อย 1 อย่าง ร้อยละ 82.60 ไม่มีข้อจํากัดในการมีส่วนร่วม ทางสังคม และร้อยละ 30.44 มีความรู้สึกถูกตีตรา ซึ่งเป็นความรู้สึกอึดอัดเกี่ยวกับตัวเอง (Self-stigma) เพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา สมาชิกในครอบครัว อาชีพ ประเภทที่อยู่อาศัย รายได้เฉลี่ยในครอบครัวและหนี้สินของ ครอบครัวต่อเดือน การใช้เครื่องช่วยความพิการ ไม่มีข้อจํากัดในการมีส่วนร่วมทางสังคมเนื่องจากอยู่ในชนบทและ อาศัยอยู่ในครอบครัว และไม่มีความรู้สึกถูกตีตราในสังคม พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน การสํารวจสภาพความ พิการ ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในครั้งนี้ สามารถนําข้อมูลที่ได้ไปฟื้นฟูสภาพและให้การช่วยเหลือผู้ที่ประสบ ปัญหาจากโรคเรื้อนเพื่อลดปัญหาที่มีและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค,รายงานประจำปี 2553 (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพัพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2554.
สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค, จุดเน้นและกรอบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคเรื้อน และภัยสุขภาพ, เอกสารอัดสำเนาการจัดประ ชุมเรื่องจุดเน้นการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคเรื้อน ประจำปี 2556.
ศิรามาศ รอดจันทร์. คุณภาพชีวิตและการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อน. วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย 2505;5(1) : 1-14
ศิรามาศ รอดจันทร์และคณะ. การสำรวจความพิการปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมในผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารกรมควบคุมโรค. ปี2554 ; ปีที่ 37 : 186-196.