สถานการณ์โรคหัดในเขตสุขภาพที่ 2 : พ.ศ. 2554-2557
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคหัดเกิดจากไวรัสหัด (measles virus) ใน Family Paramyloviridae การให้วัคซีนเป็นวิธีที่ใช้ในการ ป้องกันโรคหัด แต่ยังพบรายงานการระบาดและเสียชีวิตจากอาการแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงประกาศนโยบายการกําจัดโรคหัด ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตั้งเป้าหมายที่จะทํา ให้สําเร็จในปี พ.ศ. 2563 รวมทั้งประเทศไทย ในการนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก ได้ดําเนินการตรวจหาภูมิคุ้มกัน เชื้อไวรัสหัด และหัดเยอรมันโดยวิธี ELISA ในเขตสุขภาพที่ 2 ได้แก่ พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และ อุตรดิตถ์ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2554 ซึ่งผลการตรวจผู้ป่วยที่สงสัยจํานวน 250 ราย พบเป็นผู้ป่วยติดเชื้อหัด 58 ราย (ร้อยละ 23.2) และติดเชื้อหัดเยอรมัน 22 ราย (ร้อยละ 11.5 )จากจํานวนที่ไม่ใช่ผู้ป่วยหัด 192 ราย นอกจากนี้ยัง พบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อหัดสูงสุดคือผู้ป่วยกลุ่มในปกครอง รองลงมาคือกลุ่มรับจ้าง คิดเป็นร้อยละ 46.6 และ 22.4 ตามลําดับ โดยพบในช่วงอายุต่ํากว่าถึง 4 ปี และช่วงอายุ15 ปีขึ้นไป ถึงร้อยละ 41.4 และจังหวัดที่พบมากได้แก่ ตากและเพชรบูรณ์ ร้อยละ 51.7 และ 39.6 ตามลําดับ เนื่องจากมีพื้นที่ติดเขตชายแดน จึงพบผู้ป่วยพม่าถึงร้อยละ 29.3 ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้รับวัคซีน อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีการให้วัคซีนในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยโรคหัด ทําให้จํานวน ผู้ป่วยติดเชื่อหัดในแต่ละปีลดลง ดังนั้นเพื่อให้โครงการกําจัดโรคหัดบรรลุผล สําเร็จจึงจําเป็นต้องมีการสอบสวน ควบคุมโรคที่รวดเร็วและเพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีนหัดให้ทั่วถึง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
Center for Discase Control and Prevention. Diphtheria [Internet], 2014 [cited 2014 Sep 30];Available from:
http://ww ww.cdc.gov/diphthera/clinicians.html.
สิริลักษณ์ รังสีวงศ์, พจมาน ศิริอารยาภรณ์.สถานการณ์การระบาดของโรคคอตึบ ปี พ.ศ.2555 และข้อเสนอแนะ. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาควิทยาประจำสัปดาห์ 2556; 44: 1-8.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.โรคคอดีบรักษาหายได้. เอินเตอร์เน็ด]. (เข้าถึงเมื่อ 22ก.ย. 2557]; เข้าถึงได้จาก
http://www.thaibealth.or.th/content/25393.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพบพระ. รายงานการประชุมประจำเตือนกรกฏาคม 2556. ตาก: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพบพระ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก; 2556.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่ระมาด. รายงานการประชุมประจำเดือนสิงหาคม 2557. ตาก: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่ระมาดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก; 2557.
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ตำราวัคซีนและกา ารสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2556. กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2556.
Tharmaphorpilas P, Yoocharoan P, Prempree P,Youngpairoj S, Sriprasert P, Vitek CR. Diphtheria in
Thailand in the 1990s. J Infect Dis 2001; 184: 1035-
Centers for Discase Control and Prevention (CDC).Diphtheria outbreak--Saraburi Province, Thailand,
MMWR Morb Mortal Wkly Rep 1996; 45 : 271-
Pancharoen C, Mekmullica J, Thisyakom U,Nimmannitya S. Clinical features of diphtheria in Thai children: a historic perspective. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2002; 33: 352-4.
Pantukosit P, Arpomsuwan M, Sookananta K. A diphtheria outbreak in Buri Ram, Thailand. Southeast
Asian J Trop Med Public Health 2008; 39: 690-6.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, แนวทางการดำเนินงานเมื่อพบผู้ป่วยสงสัยโรคคอดีบและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค. นนทบุรี: กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข: 2556.