รายงานกรณีศึกษาประสิทธิผลของรองเท้า Half shoe ในการรักษาแผลเบาหวาน ที่เท้าชนิดไม่ติดเชื้อ โดยการ ประยุกต์หลักการ off loading โรงพยาบาลบางระกํา อําเภอบางระกํา จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

วุฒิชัย โอภาสจิรวิโรจน์

บทคัดย่อ

กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรองเท้า Half shoe ในการรักษาแผลเบาหวานที่เท้า ชนิดไม่ติดเชื้อ โดยการประยุกต์หลักการ off loading ศึกษากับผู้ป่วย จํานวน 3 คน โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2556 ถึง 13 สิงหาคม 2556 รวมระยะเวลา 8 สัปดาห์ จากกรณีศึกษา 3 ราย ดังนี้


กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยชายไทยคู่ อายุ 65 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการสําคัญคือ แผลเรื้อรังที่นิ้วโป้งเท้า ซ้าย 12 ปี ตรวจแผลครั้งแรกพบ chronic clean wound with callus around the wound ได้รับการผ่าตัดโดยเครื่องจี้ ไฟฟ้า กลับมา 2 สัปดาห์ด้วยแผลเหมือนเดิม กรณีศึกษารายที่ 2 ชายไทยคู่ อายุ 40 ปี ได้รับการผ่าตัดรักษาจาก โรงพยาบาลพุทธชินราช ด้วย Infected wound ส่งกลับมาติดตามการติดเชื้อแผลหายดี ตรวจแผลครั้งแรกพบ Cleaned wound with callus กรณีศึกษารายที่ 3 หญิงไทยคู่ อายุ 56 เป็นแผลที่เท้าซ้าย มา 1 ปี ตรวจแผลครั้งแรกพบ Chronic clean wound with callus around the wound ผู้ป่วยทั้ง 3 ราย ได้รับการ trim callus ร่วมกับ short leg cast แบบเปิดปลายเท้าให้แผลลอยอยู่ในอากาศ และการเดินด้วยไม้ค้ํา ติดตาม 2 สัปดาห์ พบขอบแผลดีขึ้นไม่มี callus แผลเล็กลง แต่มีปัญหาเฝือกแตก ไม่สะดวกในการใช้ชีวิตประจําวัน


ตลอดระยะเวลาที่ทํากรณีศึกษา 8 สัปดาห์ พบว่า ปัญหาในการรักษาแผลเบาหวานด้วยการตัดขอบแผล และล้างแผล มักจบด้วยการตัดนิ้วหรือเท้า แผลที่เกิดจะเป็น Callus เกิดจากกระบวนการ Wear and Tear ผู้ป่วยจะ สูญเสียความรู้สึกที่เท้าเวลาเดินจะกดน้ําหนักที่จุดเดียวนาน ๆ การตัดขอบแผลอย่างเดียวไม่ได้แก้ปัญหาเกิดแผล รักษาไม่หาย ทฤษฎี off loading หมายถึง การลดแรงกดต่อแผล เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดทําให้แผลได้รับ ออกซิเจนและสารอาหาร เกิดกระบวนการ healing การรักษาครั้งนี้ เริ่มการรักษาด้วยการ remove callus และใส่ short leg cast ร่วมกับใช้ walker เพื่อลดแรงกดที่แผล พบว่า มีกระบวนการ healing เกิดขึ้น แต่ผู้ป่วยไม่สะดวกใน การใช้ชีวิตประจําวัน จึงเปลี่ยนเป็นการประยุกต์ใช้รองเท้าพื้นหนา (half shoes) ตัดส่วนปลายให้ส่วนแผลลอยอยู่ ในอากาศ เพื่อลดแรงกด พบว่าผู้ป่วยมีความพึงพอใจ และ ใส่ได้นานกว่าเผือก ติดตามการหายของแผล เล็กลงจน หายใน 8-10 สัปดาห์

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์ และ วิทยา ศรีดามา. การคูแลรักษาเบาหวานแบบองค์รวม. กรุงเทพฯ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2549.

ชัยชาญ ดีโรจนวงค์. เบาหวาน ภัยงียบ คร่าชีวิตนาทีละ 2 คน. โครงการตำราจุฬาฯ อายุรศาสตร์. กรุงเทพฯ:เรือนแก้วการพิมพ์.25ร1.สืบค้นเมื่อ 21 มกรคม 2557.

ณัฐพงศ์ โฆษชุณหนันท์. ระบาดวิทยาปัญหาโรคเท้าของผู้ป้วยเบาหวานในประเทศไทย. ตำราการป้องกันและรักษาโรคเท้ในผู้ป่วยเบาหวาน, เชียงใหม่: ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2556.

เทพ หิมะทองคำ. การจัดการเบาหวานแบบบูรณาการ.พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด

สหพัฒนไพศาล. 2552.

Peter R. Cavanagh Off-loading the Diabetic Foot for Ulcer Prevention and Healing.Journal of the American Podiatric Medical Association: Scptember 2010, Vol. 100. 2010.

American Diabetes Association, ADA. Diagnosis and classification of diabetesmellitus. Diabetes Care, 30 (Suppl. 1). 2007. s 42-47.

Anita R.& Karl B Landorf. (2014). A survey of ofloading practices for diabetes-relatedplantar neuropathic foot ulcers. .(Electronic version).full text ofhttp://www.jfootankleres.com.

Stephanie C. Wu.& David G. Armstrong. Usc of Pressure Ofloading Devices in Diabetic

Foot Ulcers. .(Electronic version). Journal of http://care.diabetesjournals.org. 2008.