การประเมินสถานการณ์การป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก เขตสุขภาพที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์การป้องกันและผลลัพธ์การดำเนินงานป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก เขตสุขภาพที่ 2 โดยใช้โปรแกรม PHIMS (Perinatal HIV Intervention Monitoring System) วิธีศึกษา ดังนี้ ทบทวนขั้นตอนของการรายงานโปรแกรม PHIMS เกณฑ์การประเมินองค์กรยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสในทารกแรกเกิด ด้านผลลัพธ์ ประเมินความถูกต้องข้อมูล ความครอบคลุมการส่งรายงานโดยศึกษาจากหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 1,160 ราย ผลการศึกษาพบว่า ปีงบประมาณ 2555-2562 ความครอบคลุมของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับยาต้านไวรัส มีแนวโน้มดีขึ้น ค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.6 (SD=1.3) ความครอบคลุมการให้บริการเป็นคู่เพื่อตรวจหาการติดเชื้อ HIV มีแนวโน้มดีขึ้น ค่าเฉลี่ยร้อยละ 36.26 (SD=15.7) น้อยกว่าร้อยละ60 ไม่ผ่านค่าเป้าหมาย ลูกที่เกิดจากแม่ติดเชื้อเอชไอวี ได้รับยาต้านไวรัส ค่าเฉลี่ยร้อยละ 99.70 (SD=0.5) การรับนมผสมก่อนออกจากโรงพยาบาล ค่าเฉลี่ยร้อยละ 78.17 (SD=7.6) จากการประเมินสถานการณ์เรื่องการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกเขตสุขภาพที่ 2 แนวโน้นดีขึ้น ส่งผลให้ผลลัพธ์อัตราการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี จากแม่สู่ลูก มีแนวโน้มลดลง ค่าเฉลี่ยอัตราร้อยละ 1.3 (SD=0.0) (เป้าหมาย < 2%) และอัตราหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเอชไอวี มีแนวโน้มคงที่ ค่าเฉลี่ยอัตราร้อยละ 0.56 (SD=1.4) (เป้าหมาย < 6%)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
กรมอนามัย. ขับเคลื่อนงานยุติเอชไอวีต่อเนื่อง ตั้งเป้า ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ไม่มีผู้ตายจากเอดส์ลดการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูก. [อินเตอร์เน็ต]. 2560 ธันวาคม 2[เข้าถึงเมื่อ 9 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก http://203.157.65.15/anamai_web/mobile_detail.php?cid=76&nid=11146
กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ. ประเทศไทยยุติปัญหาการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี เอดส์จากแม่สู่ลูก. สมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย (Thai AIDS Society). [อินเตอร์เน็ต]. 2559[เข้าถึงเมื่อ 9 เมษายน 2563]; เข้าถึงได้จาก http://www.thaiaidssociety.org/index.php?option=com_content&view=article&id=170&Itemid=89
ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ. ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติเอดส์ พ.ศ.2560-2573. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็นซี คอนเซ็ปต์ จำกัด; 2560.
พรทิพย์ เข็มเงินและคณะ. รายงานความก้าวหน้าของประเทศไทยในการยุติเอดส์ ปี 2561. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: NC Concept Co., Ltd; 2561.
รังสิมา โล่เลขา. ความสำคัญของบริการให้การปรึกษาแบบคู่เพื่อตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีในระบบบริการฝากครรภ์. ใน: สมพงษ์ สกุลอิสริยาภรณ์, บรรณาธิการ. คู่มือฝึกอบรมหลักสูตรการให้การปรึกษาแบบคู่เพื่อตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับหญิงตั้งครรภ์และสามี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักกิจกรรมโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2554. หน้า 21-25.
สุเมธ องค์วรรณดีและคณะ. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2560. หน้า 289.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข. คู่มือการใช้โปรแกรมระบบติดตามผลการดำเนินงานเพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ เอชไอวีจากแม่สู่ลูก (Perinatal HIV Intervention Monitoring System : PHIMS Version 3.1). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักกิจกรรมโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2555.
เสาวนีย์ วิบุลสันติและคณะ. แนวทางการตรวจวินิจฉัยรักษาและป้องกันการติด เชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี 2563/2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสำนักพิมพ์อักษร กราฟฟิคแอนด์ ดีไซน์; 2563.
Ministry of Public Health. Validation of Elimination of Mother-to-Child Transmission of HIV and Syphilis Thailand 2013-2015 Report. Bangkok: 2016.
UNAIDS Joint United Nations Programmer on HIV/AIDS. Global AIDS Monitoring 2019. Switzerland: 2019.