ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับตะกั่วในเลือดกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตสุขภาพที่ 6

Main Article Content

โสภิดา เภาเจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาปัจจัยที่เสี่ยงต่อการสัมผัสตะกั่ว (2)ระดับตะกั่วในเลือดและ(3)ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เสี่ยงต่อการสัมผัสตะกั่วกับระดับตะกั่วในเลือด กลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี รูปแบบการศึกษาแบบภาคตัดขวาง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และเก็บตัวอย่างระดับตะกั่วในเลือด เลือกพื้นที่ทำการศึกษาจากโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการเด็กฉลาด ปลอดภัย ห่างไกลสารตะกั่ว เขตสุขภาพที่ 6 ปี จำนวน 6 จังหวัด กำหนดขนาดตัวอย่าง จำนวน 408 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่ามัธยฐาน และ Chi- square test


ผลการศึกษาพบ กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่ม และขอที่เข้าร่วมการศึกษาเพิ่มเติม จำนวน 555 คน (1) ปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่มาจากผู้ปกครอง หรือ ผู้อาศัยร่วมบ้าน  ร้อยละ 54.3  การเก็บชุดทำงานที่สัมผัสตะกั่วเก็บไว้ในบ้าน ร้อยละ 71.7 (2) พบเด็กที่มีระดับสารตะกั่วในเลือดเกินค่ามาตรฐาน ร้อยละ 2.5 (3)ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับระดับสารตะกั่วในเลือด ได้แก่ อาชีพ ของผู้ปกครอง หรือ ผู้อาศัยร่วมบ้าน ที่มีความเกี่ยวข้องกับตะกั่ว และการอาศัยอยู่ใกล้แหล่งที่เกี่ยวข้องกับตะกั่ว (p<0.05)   ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีระบบเฝ้าระวังสุขภาพเด็กที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งที่เกี่ยวข้องกับตะกั่วอย่างต่อเนื่อง และมีกระบวนการสร้างความรู้ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ปกครอง

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

ปิยะรัตน์ โตสุโยวงศ์. การเป็นพิษจากสารตะกั่ว(Lead Poisoning) [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ:

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564].

เข้าถึงได้จาก: http://www.cai.md.chula.ac.th/lesson/lesson4613/lesson/page_f.html

กองโรคจากการประกอบอาชีพ. คู่มือการเฝ้าระวังและป้องกันโรคตะกั่วในเด็ก. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ; 2562.

มูลนิธิบูรณะนิเวศ. สารตะกั่วในสีมหันตภัยใกล้ตัวเด็ก [อินเตอร์เน็ต]. 2556. [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://earththailand.org/th/document/42

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. Guideline in Child Health Supervision. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ; 2557

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. ข้อมูลทั่วไป [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิตประชากรศาสตร์ประชากรและเคหะ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ

กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.asp

เติมศรี ชํานิจารกิจ. สถิติประยุกต์ทางการแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2537.

Lemeshow S,. Howmer Jr DW., Klar J. and Lwanga SK.. Adequacy of sample size in health studies. West Sussex : John Wiley & Sons Ltd; 1990.

Susan M,Michael A McGeehinBernard. Prevalence of Blood Lead Levels ≥5 μg/dL Among US Children 1 to 5 Years of Age and Socioeconomic and Demographic Factors Associated With Blood of Lead Levels 5 to 10 μg/dL, Third National Health and Nutrition Examination Survey, 1988–1994. American Academy of Pediatrics 2003; 112 (6): 1308-1313.

อรพันธ์ อันติมา. สารตะกั่วผลกระทบต่อสุขภาพจากอาชีพและสิ่งแวดล้อม. วารสารควบคุมโรค ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 ม.ค. – มี.ค. 2557; เล่มที่ 1: 1-28.

วราพร ชลอำไพ. ปัจจัยที่มีผลต่อระดับตะกั่วในเลือดเด็กนักเรียนจังหวัดชลบุรี. วารสารพิษวิทยาไทย 2558; เล่มที่ 30: 22-33.

รัชฎาพร อิสรินเวศ. ปริมาณตะกั่วในเลือดของเด็กที่พักอาศัยใกล้เคียงโรงหลอมตะกั่ว(วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาตรมหาบัณฑิต). สหสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อมบัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2535.