การประเมินการดําเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 5 จังหวัด ในเขตสาธารณสุข ที่ 17 ปีงบประมาณ 2554

Main Article Content

อัมพาพรรณ นวาวัตน์
สุประวีณ์ ปภาดากุล
ไพรัตน์ อ้นอินทร์

บทคัดย่อ

การประเมินการดําเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 5 จังหวัด ในเขตสาธารณสุข ที่ 17 ครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินปัจจัยนําเข้า 2) ประเมินกระบวนการดําเนินงาน และ 3)เพื่อประเมินผลผลิตการ ดําเนินงาน ใช้แนวคิดการประเมินเชิงระบบ พื้นที่ศึกษา คือ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด 5 จังหวัด คือ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ 4 ระดับ คือ 1 ผู้บริหารระดับจังหวัด 2 ผู้แปลงนโยบายสู่การปฏิบัติระดับจังหวัดและระดับอําเภอ 3 ผู้ปฏิบัติ ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน ผู้ปฏิบัติในชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน และ ประชาชนผู้รับบริการ ด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ การสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ เชิงพรรณนา ความถี่และค่าร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. ด้านปัจจัยนําเข้า จังหวัดมีการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาโรคและภัยสุขภาพของจังหวัด มีการกําหนด ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ในการแก้ไข มีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด การจัดสรรงบประมาณแก้ไขปัญหามา จากแหล่ง โดยกําหนดเกณฑ์ในการจัดสรรภายใต้คณะกรรมการระดับจังหวัด มีบุคลากรระดับจังหวัดรับผิดชอบ ชัดเจน แต่ละจังหวัดมีวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพียงพอสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่พบ 2. ด้านกระบวนการดําเนินงาน พบว่า จังหวัดการจัดทําแผนบูรณาการและมีการถ่ายทอดแผนและความ เข้าใจสู่ผู้ปฏิบัติ มีการกํากับและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ ผู้บริหาร ผู้แปลงนโยบาย และผู้ปฏิบัติใน โรงพยาบาล มีความเข้าใจและสามารถเชื่อมโยงนโยบายงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันควบคุมโรคได้ 3. ด้านผลผลิต พบว่า ทุกจังหวัดมีผลงานเป็นไปตามเป้าหมาย บางจังหวัดมุ่งเน้นผลงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) ได้แก่ มีการพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วย STEMI ลดอัตราตายชัดเจน หน่วยบริการใช้ คู่มือแนวทาง (CPG)ฉบับเดียวกันทั้งจังหวัด ส่งผลให้จํานวนผู้ป่วยรายใหม่เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ลดลงอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1.กองแผนงาน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.ทิศทางและกลไกการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์
กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554. ม.ป.ท. นำอักษรการพิมพ์: 2554.

2.กองแผนงาน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการถ่ายทอดเป้าหมายและตัวชี้วัดสู่หน่วยงาน
และบุคลากร กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2554. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.; 2554.

3.กองแผนงาน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.แผนยุทธศาสตร์ กรมควบคุมโรค ปี 2554-2558. ม.
ป.ท.: ม.ป.พ. 2554.

4.ฉันทนา เจนศุภเสรี. แนวทางการติดตามประเมินผลของกรมควบคุมโรค ปี 54: 2553. (อกสารประกอบการ
ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานเครื่อข่ายกลุ่มส่งเสริมสนับสนุนวิชาการ
ปี 2553 และวางแผนพัฒนา ปี 2554 วันที่ 26 สิงหาคม2553 ณ โรงแรมโนโวเทล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด
สงขลา).

5.เพชรศรี ศิรินิรันคร์.เทคนิคการประเมินกระบวนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 2554.
(เอกสารประกอบการประชุม"ชี้แจงการประเมินกระบวนการคำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค")

6.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก.คู่มือการติดตามประเมินผลการดำเนินงานเฝ้าระวัง
ป้องกันโรคและภัยสุขภาพ. ม.ป.ท. ม.ป.พ. 2554.

7.สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการประเมินผลแผนงานและโครงการ ISBN 974-293-582-3. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพมหานคร: บริษัทสามเจริญพาณิช
(กรุงเทพ) จำกัด: 2543.

8.ศูนย์ศึกษาและฝึกอบรมการวิจัย. เทคนิคการวิจัยประเมินโครงการ; 2554. (เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตร "เทคนิคการวิจัยประเมินโครงการ"วันที่ 21-23 มีนาคม 2554ณ โรงแรมกานต์มณีพาเลช ถนนประดิพัทธ์ กรุงเทพมหานคร).