ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่น

Main Article Content

ประสิทธิ์ เนียมกําเนิด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในวัยรุ่น และ ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่น เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม ทําการศึกษาในกลุ่มวัยรุ่น อายุ 10 – 20 ปี กลุ่มตัวอย่างจํานวน 250 คนใช้การสุ่มแบบมีระบบ จัดเก็บข้อมูล ในช่วงเดือน สิงหาคม 2557 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติ ไค - สแควร์ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 14.49 ปี (S.D.= 2.415) ส่วนใหญ่กําลังศึกษาร้อยละ 87.2 พัก อาศัยอยู่กับพ่อและแม่ ร้อยละ 70 ในด้านรายได้ของวัยรุ่นส่วนใหญ่ได้รับจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือบุคคลอื่นเป็น ผู้ให้ ร้อยละ 92 มีประสบการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 16.4 และเพศชายมีประสบการณ์ในการดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มากว่าเพศหญิง ถึง 5.24 เท่า โดยเริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรกตั้งแต่อายุ 11 ปี ในด้าน ความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา การพักอาศัย อาชีพของวัยรุ่น รายได้ของวัยรุ่น สถานภาพสมรสของพ่อแม่ อิทธิพลของเพื่อน อิทธิพลของสื่อโฆษณาและการตลาด มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเจตคติ ความสัมพันธ์ใน ครอบครัว อิทธิพลของคนในชุมชน อิทธิพลของมาตรการการบังคับใช้ทางกฎหมาย ไม่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น จากผลการศึกษานี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรหามาตรการป้องกันการ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มวัยรุ่น โดยควรให้ความสําคัญกับการสร้างความตระหนักถึงผลกระทบของสุราต่อสุขภาพ

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1.ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. ระบบประกันสุขภาพองค์ประกอบทางเลือก. นนทบุรี :สถาบันวิจัยระบบ
สาธารณสุข.โรงพิมพ์เดือนตุลา.2554.

2. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีสำโรง.. รายงานการสำรวจข้อมูลพื้นฐานการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ใน
วัยรุ่น.2557.

3. พงษ์ศักดิ์ อันมอย. เยาวชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรคิตถ์ทั้งชาย. กรมสุขภาพจิต สถาบันวิจัยระบบ
สาธารณสุข และศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. 2553.

4. เผ่าพงศ์ สุนทร. การศึกษาความชุกของการดื่มสุราของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน.
โรงพยาบาลลี้ จังหวัดลำพูน. 2555.

5. คุษฎี แสงคำ. ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมส่งผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น
อำเภอลำควน จังหวัดสุรินทร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 2555.

6. ช่อแก้ว ร่มสุข ขจรวรรณ อิฐรัตน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริ โภคเครื่องดื่มที่มี
แอลกอฮอล์ของวัยรุ่นวารสารการจัดการคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 2555.

7. พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์.ราชกิจจานุเบกษา. 13 กุมภาพันธ์ 2551. 2551.