การประเมินผลการดําเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

ทรัสดี ก้อนอาทร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดําเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพจังหวัดอุตรดิตถ์ จํานวน 385 คน และความพึงพอใจของประชนต่อการดําเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จํานวน 474 คน เก็บ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยตรวจสอบความเที่ยงแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับกองทุนหลักประกัน สุขภาพระดับท้องถิ่นตามวิธีของคูเดอร์ ริชาร์ดสันได้ค่าได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 และค่าอํานาจจําแนก รายข้อ ระหว่าง 0.2-0.3 ความคิดเห็นต่อการดําเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา


ผลการวิจัย พบว่า


  1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นของคณะกรรมการบริหารกองทุน หลักประกันสุขภาพในความรับผิดชอบของเทศบาล มีสัดส่วนมากที่สุดในระดับปานกลาง รองลงมา คือ ระดับมาก ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนหลักประกันสุขภาพของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพของ องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) มีสัดส่วนมากที่สุดในระดับปานกลาง รองลงมา คือระดับ มาก

  2. ความคิดเห็นต่อการดําเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นของเทศบาลโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อจําแนกรายด้าน พบว่า ระดับมาก ได้แก่ ด้านกระบวนการเกี่ยวกับการดําเนินงานกองทุนหลักประกัน สุขภาพ (การวางแผน การดําเนินงาน การติดตามประเมินผล) รองลงมา คือ ด้านผลผลิตเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ตาม วัตถุประสงค์การดําเนินงานกองทุน ด้านบริบทเกี่ยวกับนโยบายการดําเนินงานกองทุน ระดับปานกลาง ได้แก่ ด้าน ปัจจัยนําเข้าเกี่ยวกับบุคคลและทรัพยากร ความคิดเห็นต่อการดําเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตําบล โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อ จําแนกรายด้านพบว่า ระดับมาก ได้แก่ ด้านกระบวนการการดําเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ได้แก่ การ วางแผน การดําเนินงาน การติดตามประเมินผล รองลงมา คือ ด้านผลผลิตเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์การ ดําเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ และด้านบริบทเกี่ยวกับนโยบายการดําเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านปัจจัยนําเข้าเกี่ยวกับบุคคลและทรัพยากรในการดําเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ 3.ความพึงพอใจของประชาชนต่อการดําเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.(2552). สุขภาพคนไทย 2552.กรุงเทพมหานคร :อมรินทร์พรินติ้งพับลิชชิง.

2. ปี๊ยะนุช เนื้ออ่อน. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นของคณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพในจังหวัดกระบี่. วิทยาบิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุข มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

3. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2557). คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่. ม.ป.ท.

4. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์. (2550).รายงานผลการคำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่. อุตรดิดถ์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์.

5. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2549).คู่มืออาสาสมัดรสาธารณสุขกับการสร้างหลักประกันสุขภาพ: หมอปรีดาเล่าเรื่องหลักประกันสุขภาพ.นนทบุรี: สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

6. แคสเพอร์สัน และไบรทับาท. (1969) ใน วิวัฒน์ ภู่คะนองศรี. (2537). การมีส่วนร่วมของประชาชนในงาน ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในจังหวัดปัตตานี.วิทยานิหนธ์บัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.

7. ชิตสุภางค์ ทิพย์เที่ยงแท้ วิภารัตน์ ยมดิมฐ์ จีริยาอินทนา และรจนารถ ชูใจ. (2551). รายงานผลการวิจัยผลการคำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสวนหลวง ง.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

8. สุรเชษฐ์ กรงจักร. (2554). ความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อการดำเนินงานกองทุนหลักประกัน
สุขภาพขององค์การบริหารส่วนตาบลหนองแรด อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

9. วิทยา คามุนี และคณะ. (2550). กองทุนสุขภาพท้องถิ่น : ภาคใต้ตอนบน. การวิจัยนโยบายสาธารณะกองทุนสุขภาพท้องถิ่น กรุงเทพมหานคระบริษัท พี เอ.ลิฟวึ่ง จำกัด

10. คิเรก ปัทมสิริวัฒน์.(2550) รายงานสรูปสำหรับผู้บริหาร. การวิจัยนโยบายสาธารณะ กองทุน
หลักประกัน สุขภาพท้องถิ่น. กรุงเทพฯะบริษัท ฟี เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด.

1 1. ปดา แต้อารักษ์ นิภาพรรณ สุขศิริ รำไพ แก้ววิเชียรและกิรณา แต้อารักษ์. (2551). ทบทวนการกระจายอำนาจค้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระหว่างปี 2542-2550. นนทุบรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.