ผลกระทบทางสุขภาพ ของประชาชน จากการประกอบกิจการอุตสาหกรรมโรงโม่หิน ในตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

เอกพล กิติกา
วราภรณ์ บุญเชียง
วรางคณา นาคเสน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางสุขภาพ ทั้ง 4 มิติ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ  ของประชาชนจากการประกอบกิจการอุตสาหกรรมโรงโม่หิน ในตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยจำนวน 6 หมู่บ้าน ที่ได้รับผลกระทบฯ คือ หมู่ที่ 1, 2, 3, 5, 6 และ 19 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 310 ครัวเรือน ใช้แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นจากการทบทวนเอกสารและงานวิวัยที่เกี่ยวข้อง โดยผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน ตรวจสอบความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 ใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมานได้แก่ Mann-Whitney U Test และ Kruskal-Wallis Test ที่ระดับนัยสำคัญ .05


               ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบทางสุขภาพฯ รวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง  ร้อยละ 36.57 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลกระทบทางสุขภาพฯ ทั้ง 4 มิติ ของกลุ่มตัวอย่างแล้ว พบว่า ระยะห่างระหว่างที่อยู่อาศัยกับโรงโม่หิน พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่นละออง และค่าชดเชยจากผู้ประกอบกิจการโรงโม่หินฯ มีผลกระทบต่อสุขภาพฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านอื่นๆ เพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ ระดับการศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


               ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้เป็นข้อมูลการตัดสินใจในการวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพ และเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายระดับท้องถิ่น เพื่อลดผลกระทบจากการประกอบกิจการโรงโม่หินที่มีต่อประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบ

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. ประวัติความเป็นมาของโรงโม่หิน. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561] เข้าถึงได้จาก http://www.dpim.go.th/qrystones/quarry2.php.
2. กองการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย. แนวทางการปะเมินผลกระทบต่อสุขภาพ. [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2561] เข้าถึงได้จากhttp://hiaold.anamai.moph.go.th/ main.php?
filename=hia_book_2
3. บริษัท เขตศิลา จำกัด. รายงานมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่งแวดล้อมโครงการทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่อการก่อสร้าง. [อินเตอรเน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2561] เข้าถึงได้จาก http://eia.onep.go.th/approvegovernmentdetail.php?id=1
4. ธีชัช บุญญะการกุล. การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ, เอกสารประกอบการบรรยายการประชุมวิชาการครั้งที่ 1 ผลกระทบสารเคมีทางการเกษตรต่อสุขภาพ; 22-23 พฤศจิกายน 2550. สมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร. 2550
5. ทวิชพงศ์ สายัณห์. การศึกษานโยบายและการมีส่วนร่วมของเจ้าพนักงานเหมืองแร่หินปูนในมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมกลุ่มหน้าพระลานจังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต) ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2550.
6. ปิยนุช ชัยพฤติตานนท์. การประเมินการได้รับฝุ่นละอองของบุคลากรและนักศึกษาวิทยาลัยอาชีพพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต) ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2556.
7. พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช. โครงการประเมินระบบเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจากหมอกควัน ในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2553.
8. วราภรณ์ สุภาอินทร์. ผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนจากการประกอบกิจการโรงโม่หินในตำบลแม่ลาน้อย อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). สหสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2546.
9. พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย. ผลกระทบทางสุขภาพของประชาชนจากภัยพิบัติอุทกภัยน้ำป่าและโคลนถล่มในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). สหสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.
10. นิดา นันต๊ะภูมิ. ผลกระทบทางสุขภาพจากการทำครกหินของประชาชนบ้านไร่ศิลาทอง ตำบลพิชัยอำเภอเมืองลำปาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). สหสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.
11. ชุมพล จันทร์ศูนย์. ผลกระทบทางสุขภาพจากโรงปูนซีเมนต์ต่อประชาชนตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). สหสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2546.