ลักษณะทางระบาดวิทยาของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็กอายุ 0-4 ปี ณ โรงพยาบาลแม่ระมาด จังหวัดตาก พ.ศ. 2558-2562

Main Article Content

สุธา ภัทรกิจรุ่งเรือง

บทคัดย่อ

โรคปอดอักเสบเป็นโรคติดเชื้อที่เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในเด็ก อัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลุ่มที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือเด็กอายุ 0-4 ปี การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของโรคปอดอักเสบในเด็กอายุ 0-4 ปี ที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลแม่ระมาด โดยเก็บรวบรวมข้อมูล อายุ เพศ ที่อยู่ ช่วงเวลาที่ป่วย จำนวนวันที่นอนโรงพยาบาล การส่งต่อผู้ป่วย และผลการรักษา ผลการศึกษาพบว่า จำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 276 ราย (อัตราป่วย 7,812.1 ต่อประชากรแสนคน) ในปี พ.ศ. 2558 เป็น 424 ราย (อัตราป่วย 13,212.8 ต่อประชากรแสนคน) ในปี พ.ศ. 2562 อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1.3:1 กลุ่มที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี โดยตำบลที่อยู่ในพื้นที่สูงมีอัตราป่วย มากกว่าตำบลที่อยู่ในพื้นที่ราบ ช่วงเวลาที่พบผู้ป่วยสูงสุดโดยเฉลี่ย คือเดือนกันยายน ค่ามัธยฐานวันนอนโรงพยาบาล คือ 2 วัน อัตราการส่งต่อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.6 ในปี พ.ศ. 2558 เป็นร้อยละ 1.2 ในปี พ.ศ. 2562 อัตราการเสียชีวิตอยู่ระหว่างร้อยละ 0- 0.4 การศึกษานี้สรุปได้ว่า โรคปอดอักเสบพบมากในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี อยู่ในพื้นที่สูง และพบสูงขึ้นในช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก. แนวทางการดูแลโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก พ.ศ.2562. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย; 2562
2. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2558(อินเตอร์เน็ต). (สืบค้น วันที่ 18 เมษายน 2563) เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/Annual/AESR2015/aesr2558/Part%201/05/pneumonia.pdf
3. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2559(อินเตอร์เน็ต). (สืบค้น วันที่ 18 เมษายน 2563) เข้าถึงได้จาก
https://apps.doe.moph.go.th/boeeng/annual/AESR2016/static/documents/sum-aesr/5/โรคปอดอักเสบ.pdf
4. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2560(อินเตอร์เน็ต). (สืบค้น วันที่ 18 เมษายน 2563) เข้าถึงได้จากhttps://apps.doe.moph.go.th/boeeng/download/AESR-6112-24.pdf
5. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2561(อินเตอร์เน็ต). (สืบค้น วันที่ 18 เมษายน 2563) เข้าถึงได้จาก https://apps.doe.moph.go.th/boeeng/download/AW_Annual_Mix%206212_14_r1.pdf
6. Ostapchuk M, Roberts DM, Haddy R. Community-acquired pneumonia in infants and children. Am Fam Physician; 2004 Sep 1;70(5):899-908.
7. Jain S, Williams DJ, Arnold SR, Ampofo K, Bramley AM, Reed C, et al. Community-acquired pneumonia requiring hospitalization among U.S. children. N Engl J Med 2015; 372:835-45.
8. Cantais A, Mory O, Pillet S, Verhoeven PO, Bonneau J, Patural H, et al. Epidemiology and microbiological investigations of community-acquired pneumonia in children admitted at the emergency department of a university hospital. J Clin Virol 2014; 60:402-7.
9. Rudan I, O’Brien KL, Nair H, Liu L, Theodoratou E, Qazi S, et al. Epidemiology and etiology of childhood pneumonia in 2010: estimates of incidence, severe morbidity, mortality, underlying risk factors and causative pathogens for 192 countries. J Glob Health 2013; 3:010401.
10. Walker CL, Rudan I, Liu L, Nair H, Theodoratou E, Bhutta ZA, et al. Global burden of childhood pneumonia and diarrhea. Lancet 2013; 381:1405-16.