ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้าน ขั้นตอน 1 วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันวัณโรค กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สัมผัสร่วมบ้าน 120 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน พบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การได้รับข้อมูลข่าวสารและการได้รับสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันวัณโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ขั้นตอน 2 พัฒนาโปรแกรม ประกอบด้วย 1) การศึกษาความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยโปรแกรมประกอบด้วย 1) การค้นพบสถานการณ์จริง ได้แก่การเรียนรู้การป้องกันวัณโรค 2) การสะท้อนความคิดอย่างมีวิจารณญาณ ได้แก่ การทบทวนปัญหาการแพร่ระบาดของวัณโรค 3) การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมได้แก่ การฝึกปฏิบัติการป้องกันวัณโรค โดยเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จและการให้ความรู้เพิ่มเติมจากบุคคลากรด้านสุขภาพ 4) การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่การวางแผน การลงมือปฏิบัติโดยได้รับการสนับสนุนจากบุคคลากรด้านสุขภาพ ขั้นตอน 3 การทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรม พบว่า ภายหลังการทดลองคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสร่วมบ้านสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)
Article Details
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
2. กรมควบคุมโรค. (2561). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
3. focus. (2019). สถานการณ์วัณโรค. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564 จาก https://www.hfocus.org/content/2019/09/17640
4. กรมควบคุมโรค. (2560). การสำรวจความชุกของวัณโรคระดับชาติในประเทศไทย ปี พ.ศ.2555-2556. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
5. โพสทูเดย์. (2562). ตัวเลขสถิติวัณโรคในไทยพุ่งสูง เป้าหมายที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันหยุด.
สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564 จาก https://www.posttoday.com/life/healthy/599039
6. กรมควบคุมโรค. (2559). ผลการดำเนินงานควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2552-2558. กรุงเทพฯ :
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
7. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2. (2562). สรุปผลการดำเนินงานวัณโรค ปี 2562 เขตสุขภาพที่ 2. พิษณุโลก :สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2
8. จามรี ธีรตกุลพิศาล. (2553). วัณโรคในเด็ก. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา
9. Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.
10. Best, J.W. (1977). Research in Education. 3rd ed. Prentice Hall, Englewood cliffs,
New Jersey.
11. นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, และญาดา นภาอารักษ์. (2562). การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วย โปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ 2562; 5(1): 496-506
12. Ellefson, K. (1990). Fundamental of social statistics International edition. Singapore:
Mc Graw-Hill.
13. ธีระพงษ์ จ่าพุลี. (2553). พฤติกรรมการป้องกันวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคปอด
อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
14. นาปีเส๊าะ มะเซ็ง. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วย วัณโรค อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.
15. อรรัตน์ จันทร์เพ็ญและลัดดา สมมิตร. (2553). พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคของผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อ โรงพยาบาลวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2563, จาก www.spkhfammed.org/category/P1359108.doc.
16. ขวัญใจ มอนไธสง. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคปอดที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
17. วีระวุธ แก่นจันทร์ใบและสุมัทนา กลางคารและสรญา แก้วพิทูลย์. (2561). ผลของโปรแกรมการสร้างการรับรู้ต่อการป้องกันวัณโรคปอดของผู้สัมผัสร่วมบ้าน อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 25(1): 79-90.
18. จารุวัฒน์ สาแก้ว. (2553). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจต่อการป้องกันโรคในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคปอด ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.