การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนแบบการมีส่วนร่วมของ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

พรสิทธิ์ ศรีสุข
อภิชิต กองเงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการขยะของชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยประยุกต์ใช้กระบวนการ Appreciation Influence Control (AIC) ในการดำเนินการวิจัยประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้ 1)Appreciation(A) การเรียนรู้ร่วมกันของชุมชน และเข้าใจถึงปัญหาร่วมวิเคราะห์ปัญหา เสนอความคิดเห็นแก้ไข และกำหนดเป้าหมายร่วมกัน 2)Influence(I)กระตุ้นให้ชุมชนมีแนวทางในการแก้ปัญหาของตนเอง มีการกำหนดกิจกรรมพัฒนารูปแบบการ 3) Control(C)ร่วมกันจัดทำกิจกรรมต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ผลการศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการขยะในชุมชน พบว่า1) จัดการขยะทั่วไปเน้นการคัดแยก ที่ครัวเรือน ลดการใช้มีปริมาณขยะน้อยที่สุด 2) ขยะติดเชื้อในชุมชนรวบรวมและจัดเก็บนำส่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล3)ขยะอันตรายให้ทิ้งลงถังขยะอันตรายในที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดวาง ระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยพบว่าประชาชนมีส่วนร่วมต่อการจัดการขยะมูลฝอยโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง(=3.28, SD= 0.28) ผลการศึกษาปริมาณขยะก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการขยะพบว่า ปริมาณขยะหลังดำเนินการตามรูปแบบลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ดังนั้นการใช้หลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชนจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยผลักดันรูปแบบการจัดการขยะของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. กรมควบคุมมลพิษ. (2563). ระบบสารสนเทศด้านขยะมูลฝอย. [เข้าถึงเมื่อเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562], เข้าถึงได้จาก https://www.pcd.go.th/publication/10650/
2. กรมควบคุมมลพิษ. (2562). ระบบสารสนเทศด้านขยะมูลฝอย. [เข้าถึงเมื่อเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562], เข้าถึงได้จาก https://thaimsw.pcd.go.th/report1.php
3. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหล่มสัก (2461). สรุปผลการดำเนินงานประจำปี. สสอ.หล่มสัก:2561 หน้า 21
4 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2535). พระราชบัญญัติการสาธารณสุขพุทธศักราช 2535 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
5.สุพัตราและคณะ. การจัดการขยะครัวเรือนของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี.วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (2562);ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 2562 – ธันวาคม 2562:หน้า 47 –หน้า61.
6.ปราการ เกิดมีสุข. การมีส่วนร่วม ในการจัดการธนาคารขยะของชุมชนวัดปุรณาวาส เขตทวีวัฒนากรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี(2560);ปี6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 2560 – ธันวาคม 2560:หน้า 92 –หน้า 100.
7. สันชัย พรมสิทธิ์และคณะ.รูปแบบการจัดการขยะกับความเหมาะสมของพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น(2560); ปี 6 ฉบับที่ 2 เมษายน 2560 – มิถุนายน 2560:หน้า 460 –หน้า 483.
8 Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University
9 Krejci, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities.
Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.