ประสิทธิผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

บุญเลิศ จันทร์หอม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์  เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research)  ใช้แบบแผนการวิจัย 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (Two Group Pretest Posttest Design)  ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการคัดกรองเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 60 คน เลือกตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน โดยใช้กรอบแนวคิด PRECEDE Framework  กลุ่มทดลองได้ร่วมกิจกรรมที่กำหนดในรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ประกอบด้วยการประเมินสภาพปัญหา กระบวนการกลุ่ม การให้สุขศึกษา (การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ช่องทางการแจ้งเหตุ ทักษะการให้คำปรึกษาและกำลังใจ ทักษะการจัดการความเครียด การจัดทำแผนปรับเปลี่ยนรายบุคคล) และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวางแผนกิจกรรมปรับเปลี่ยน การติดตามผล เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 2)แบบสอบถาม ประสิทธิผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่ผู้วิจัยดัดแปลงจาก สุมนรัตน,2560 และแบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ ประกอบด้วย 6 ส่วน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ สถิติเชิงอนุมาน คือ  สถิติ  Independence t-test และ Dependence t-test


ผลการวิจัยพบว่า ในกลุ่มทดลองคะแนนเฉลี่ยระหว่างก่อนและหลังการทดลอง มีคะแนนเฉลี่ย ด้านความรู้ การเข้าถึงบริการในระบบสุขภาพ การมีทักษะในการสื่อสารแจ้งเหตุกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน การเป็นกำลังใจและกระตุ้นเตือนการปฏิบัติตนป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ  0.05  และ คะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ การเป็นกำลังใจและกระตุ้นเตือนการปฏิบัติตนป้องกันโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพดีขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. ปิยรัตน์ ชูมี. สถานการณ์โรคเรื้องรังไม่ติดต่อ [อินเตอร์เน็ต]. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก http://110.164.147.155/kmhealth_new/Documment/blood/knowlage/17.pdf
2. ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2562 [อินเตอร์เน็ต]. สำนักสารนิเทศ: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2562. [เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จากhttps://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/07/127178/
3. กองโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราผู้ป่วยใน ปี 2559 - 2561 (ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หลอดเลือดหัวใจ, หลอดเลือดสมอง, COPD) [อินเตอร์เน็ต]. กระทรวงสาธารณสุข; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/2016/mission/documents
detail.php?id=13684&tid=32&gid=1-020
4. ศิริเนตร สุขดี. การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน. [อินเตอร์เน็ต]. มหาวิทยาลัยศรันครินทรวิโรฒ; 2560. [เข้าถึง
เมื่อ 22 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก http://bsris.swu.ac.th/thesis/55199120025RB8992555f.pdf
5. วรารัตน์ ทิพย์รัตน์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการค่าความดันโลหิตในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ8 กุมภาพันธ์ 2564];81 เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/130692
6. ปรารถนา วัชรานุรักษ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ8 กุมภาพันธ์ 2564];228 เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/74883/0
7. วิยะดา ดิลกวิฒนา. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมในการลดน้ำหนักของนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ระดับมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พืษณุโลก [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ8 กุมภาพันธ์ 2564]; 78-79 เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/issue/view/14355/%E0%B9%8BJournal%20dpcphs%20vol.5%20No.2%20%28April-June2018%29
8. นงลักษณ์ เทศนา. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง [อินเตอร์เน็ต]. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4264?locale-attribute=th
9. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ความดันโลหิตสูงคืออะไร?. [อินเตอร์เน็ต]. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2562. [เข้าถึงเมื่อ8 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก https://xn--12c8b3afcz5g8i.com/knowledge/detail/26/data.html
10. กรมอนามัย. โครงการส่งเสริมสุขภาพวัยทำงานตอนปลายกลุ่มชาติพันธุ์เตรียมตัวก่อนสูงอายุ (Pre- aging)หมู่บ้านเพื่อความมั่นคงพื้นที่ชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก http://doc.anamai.moph.go.th/index.php?r=str-project/view&id=1962
11. กฤติน บัณฑิตานุกูล. การวัดการภาวะความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. สมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย); 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=387
12. กองโรคไม่ติดต่อ. แผ่นพับ "รู้จักโรคความดันโลหิตสูง" [อินเตอร์เน็ต]. กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ; 2561 [เข้าถึงเมื่อ8 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก http://thaincd.com/2016/media-detail.php?id=12498&tid=1-001-001&gid=1-015-001
13. กองสุขศึกษา. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยชุมชน เล่มที่ 1 [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สยามสเตชั่น-เนอรี่ ซัพพลายส์; 2556 [เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาhttp://www.hed.go.th/linkhed/file/89
14. ชุลีพร หีตอักษร. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้ประกอบการตลาดสดกอบกาญจน์ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ8 กุมภาพันธ์ 2564];99 เข้าถึงได้จาก https://he01.tcithaijo.org/index.php/scnet/article/view/84752/67498
15. เพชรัตน์ ศิริสุวรรณ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2561; 1: 49-50.
16. เรณู อาจสาลี. ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ลดหวาน มัน เค็มแบบยั่งยืน แก่ผู้ประกอบอาหารในครัวเรือน เขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ8 กุมภาพันธ์ 2564]; 9-10 เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/H2Mj9
17. โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. คุณเป็นความดันโลหิตสูงรึป่าว? [อินเตอร์เน็ต]. โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์; 2563 [เข้าถึงเมื่อ8 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/hypertension
18. วิชุดา นาคร. โครงการส่งเสริมสุขภาพวัยทำงานตอนปลายกลุ่มชาติพันธุ์เตรียมตัวก่อนสูงอายุ (Pre-aging) หมู่บ้านเพื่อความมั่นคงพื้นที่ชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ [อินเตอร์เน็ต]. กรมอนามัย; 2561[เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก http://doc.anamai.moph.go.th/index.php?r=str-project/view&id=1962
19. ศูนย์สมองและระบบประสาท. ความดันโลหิตสูง[อินเตอร์เน็ต]. โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา; 2563 [เข้าถึงเมื่อ8 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokpattayahospital.com/th/healthcare-services/neuroscience-center-th/neuroscience-articles-th/item/884-high-blood-pressure-th.html
20. สิรีวัฒน์ อายุวัฒน. การคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชน
เขต อ.เมือง จ.พิษณุโลก. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ8 กุมภาพันธ์ 2564];135 เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/84867