การศึกษาความไวต่อสารเคมีและสารเสริมฤทธิ์ของยุงลาย Aedes aegypti ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความไวของยุงลายบ้านสายพันธุ์จากภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยต่อสารเคมีความเข้มข้นมาตรฐาน ความเข้มข้นที่สูงขึ้น และทดสอบสารเคมีกำจัดแมลงร่วมกับสารเสริมฤทธิ์เพื่อตรวจสอบกลไกการสร้างความต้านทานของสารเคมีฯ สุ่มเก็บตัวอย่างลูกน้ำยุงจากพื้นที่ สคร. จำนวน 12 แห่ง นำยุงลายบ้าน รุ่นที่ 1 มาทดสอบความไวกับสารเคมีกลุ่มไพรีทรอยด์ความเข้มข้นมาตรฐาน ประกอบด้วย alphacypermethrin 0.03%, cyfluthrin 0.15% และ deltamethrin 0.03% และเพิ่มความเข้มข้นของสารเคมีทั้ง 3 ชนิด เป็น 10 เท่า ตลอดจนทดสอบสารไพรีทรอยด์ร่วมกับสารเสริมฤทธิ์ piperonyl butoxide และทดสอบกับสารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ได้แก่ fenitrothion 1%, malathion 0.8% และ pirimiphos - methyl 0.21% ด้วยวิธีการ susceptibility test ตามวิธีการองค์การอนามัยโลก
ผลการศึกษาพบว่า ยุงลายบ้านทุกภูมิภาค ต้านทานต่อสารเคมีกลุ่มไพรีทรอยด์ในระดับปานกลางจนถึงสูง และเมื่อศึกษาสารเคมีร่วมกับสารเสริมฤทธิ์ พบว่าอัตราการตายของยุงลายบ้านเกือบทุกพื้นที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าการใช้สารเคมีเพียงอย่างเดียว สำหรับสารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตส่วนใหญ่ต้านทานต่อ fenitrothion และ pirimiphos - methyl ส่วน malathion ต้านทานทุกภูมิภาค ดั้งนั้นจึงมีข้อเสนอแนะให้ใช้สารกลุ่มไพรีทรอยด์ร่วมกับสารเสริมฤทธิ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพฯ ประเมินผลการพ่นฟุ้งกระจายโดย cage bioassay test และศึกษากลไกการต้านทานของยุงลายบ้านต่อสารเคมีฯเพิ่มเติม เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการบริหารจัดการสารเคมีฯ ต่อไป
Article Details
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
2. World Health Organization. Pesticides and their application and their application for the control of vectors and pests of public health importance. Geneva, Switzerland. sixth edition. WHO/CDS/NTD/WHOPES/GCDPP/2006.1; 2006.
3. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกีด้านการแพทย์และสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2558 . พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ กรุงเทพมหานคร; 2558. 140 หน้า.
4. Insecticide Resistance Action Committee (IRAC). Prevention and Management of Insecticide Resistance in Vectors of Public Health Importance. [online].2011. 2nd edition. [cite 2020 September 15]; Available form: https://croplife.org/wp-content/uploads/pdf_files/IRAC-Prevention-management-of-insecticide-resistance-in-vectors-pests-of-public-health-importance.pdf.
5. บุญเสริม อ่วมอ่อง สงคราม งามปฐม และมาโนช ศรีแก้ว. การศึกษาความไวของยุงลาย Aedes aegypti ต่อสารกำจัดแมลงในภาคกลางของประเทศไทย. วารสารกระทรวงสาธารณสุข 2542; 18 (7-12): 93-101.
6. Jirakanjanakit N, Rongnoparut P, Saengtharatip S, Chareonviriyaphap T, Duchon S, Bellec C, et al. Insecticide susceptible/resistance status in Aedes (Stegomyia) aegypti and Aedes (Stegomyia) albopictus (Diptera: Culicidae) in Thailand during 2003-2005. J Econ Entomol; 2007: (2):545-50. doi: 10.1603/0022-0493(2007)100[545: irsias]2.0.co;2. PMID: 17461081.
7. Thanispong K, Sathantriphop S, Chareonviriyaphap T. Insecticide resistance of Aedes aegypti and Culex quinquefasciatus in Thailand. J Pestic Sci 2008: 33(4):351-356. DOI: 10.1584/jpestics.G08-12.
8. Chuaycharoensuk, T, Juntarajumnong W, Boonyuan W, Bangs J M, Akratanakul P, Thammapalo S, et al. Frequency of pyrethroid resistance in Aedes aegypti and Aedes albopictus (Diptera: Culicidae) in Thailand. J Vector Ecol 2011; 36(1):204-212.
9. Komalamisra N, Srisawat R, Phanbhuwong T, Oatwaree S. Insecticide Susceptibility of The Dengue Vector, Aedes aegypti (L.) In Metropolitan Bangkok. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2011; 42(4):814-823.
10. พรรณเกษม แผ่พร, กสิน ศุภปฐม และ สุนัยนา สท้านไตรภพ. ความไวของยุงลายตามภาคต่างๆ ของประเทศไทยต่อสารเคมีกำจัดแมลงที่ใช้ในการควบคุมโรค ไข้เลือดออก, 2549-2553. วารสารโรคติดต่อนำโดยแมลง 2553; 7(1): 8-16.
11. กองแก้ว ยะอูป, อาสาฬหะ พิมพ์บึง, บุญส่ง กุลโฮง, พรทวีวัฒน์ ศูนย์จันทร์.ระดับความไวต่อสารเคมีของลูกน้ำและยุงลายในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ปี 2552. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2554; 18(3) 1-10.
12. คณัจฉรีย์ ธานิสพงศ์ ,ขนิษฐา ปานแก้ว ,ประชา สุขโชติ. ความไว/ความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงของยุงลายบ้านต่อสารเคมีกำจัดแมลงที่ใช้ในงานสาธารณสุข. วารสารโรคติดต่อนำโดยแมลง; 2554;8 (2):28-43 หน้า.
13. เพ็ญนภา ชมะวิต, นฤมล โกมลมิศร์ และชำนาญ อภิวัฒนศร. การทดสอบความไวของยุงลายบ้านต่อสารเคมีกำจัดแมลง จังหวัดลพบุรี เพชรบุรี ปราจีนบุรี สุราษฎร์ธานี และกรุงเทพมหานคร วารสารสาธารณสุข 2555; 21(3):467-476.
14. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. รายงานประจำปี 2560 สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ กรุงเทพมหานคร ; 2561. 138 หน้า.
15. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. รายงานประจำปี 2561 สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ กรุงเทพมหานคร ; 2562. 128 หน้า.
16. กาญจนา โกติทิพย์, เจนจิรา จันสุภา, สุธาสินี มาแดง, กานต์ธีรา เรืองเจริญ และวรรณภา สุวรรณเกิด.ความไวของยุงลายบ้าน ( Aedes aegypti ) ต่อสารเคมีกลุ่ม Pyrethriod ในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคเหนือ ปี 2558 และ 2559.วารสารสาธารณสุขล้านนา 2561; 14(1):13-22.
17. วศิน เทพเนาว์, นที ชาวนา, ดอกรัก ฤทธิ์จีน และสำราญ ปานขาว. ความไวต่อสารเคมีฆ่าแมลง (Temephos, Alphacypermethrin, Deltamethrin, Lamda-cyhalothrin และ Cypermethrin) ของยุงลายบ้าน Aedes aegypti ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ สคร. 9 2561; 24(2):15-23.
18. Pimsamarn S, Sornpeng W, Akksilp S , Paeporn P, Limpawitthayakul M. Detection of insecticide resistance in Aedes aegypti to organophosphate and synthetic pyrethroid compounds in the north-east of Thailand. Dengue Bulletin 2009; 33: 194 - 202.
19. Paeporn P, Supaphathom K, Sathantriphop S. Insecticide susceptibility of Aedes aegypti in different parts of Thailand, 2006–2010. J Vector Borne Dis 2010; 17: 8-16.
20. สิริภัค สุระพร. กลไกที่แมลงต้านทานต่อสารฆ่าแมลง. วารสารเกษตรพระวรุณ 2562;16(1):34 – 48.
21. Amelia-Yap Z, Chee Chen D, Sofian-Azirun M, Low V. Pyrethroid resistance in the dengue vector Aedes aegypti in Southeast Asia: present situation and prospects for management. Parasit Vectors 2018; 11:332:1-17.
22. World Health Organization. Test procedures for insecticide resistance monitoring in malaria vector mosquitoes – 2nd ed. Geneva, Switzerland; 2016. 48 page
23. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. คู่มือการทดสอบสารเคมี. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2557: 42 หน้า.
24. Capinera J L. Abbott's Formula. Encyclopedia of entomology. [online]. 2005. [cite 2020 September 15]; Available form: Available from: URL: https://link.springer.com/referenceworkentry/10.1007%2F0-306-48380-7_4.
25. ดุษิต โพธิ์ทอง นันทิดา คาศรี และ พิสิษฐ์ พูลประเสริฐ. การทดสอบความไวยุงลายต่อสารเคมีในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย PSRU Journal of Science and Technology 2020; 5(2): 1-12.
26. Kongmee M, Thanispong K, Sathantriphop S, Sukkanon C, Bangs MJ, Chareonviriyaphap T. Enhanced mortality in deltamethrin-resistant Aedes aegypti in Thailand using a piperonyl butoxide synergist. Acta Trop 2019; 189:76-83. doi: 10.1016/j.actatropica.2018.09.025. Epub 2018 Oct 1. PMID: 30287252.