การพัฒนาระบบควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการประยุกต์ใช้แผนที่ภาษี และทะเบียนทรัพย์สินและฐานข้อมูลทะเบียนระบบสุขภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตเมืองโดยประยุกต์ใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศจากแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ร่วมกับการใช้ฐานข้อมูลทะเบียนในระบบสุขภาพ โดยจัดทำต้นแบบในพื้นที่เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ มีขั้นตอน ดังนี้ 1) วิเคราะห์ระบบควบคุมโรค และรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2) พัฒนาระบบป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยออกแบบและจัดทำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ รวบรวม ตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของฐานข้อมูลระบบสุขภาพ พร้อมออกแบบโครงสร้างโมดูลแอพพลิเคชั่น 3) พัฒนาแอพพลิเคชั่น 4) ทดลองใช้และ 5) ประเมินผล ผลจากการพัฒนาได้รูปแบบการควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี 1 รูปแบบ ประกอบด้วย ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์รายหลังคาเรือนและรายชุมชน ระบบชี้เป้าตำแหน่งบ้านผู้ป่วย และเป้าหมายหลังคาเรือนการในการควบคุมโรคโดยการใช้ระบบภูมิสารสนเทศกำหนดพิกัดการควบคุมโรคในรัศมี 100 เมตร และคำนวณความครอบคลุมในการควบคุมโรคตามมาตรฐาน จากการดำเนินงานพบว่าจำนวนผู้ป่วยปี 2563 ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2562 ในช่วงเวลาเดียวกัน การศึกษานี้สามารถพัฒนาระบบป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการนำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินมาใช้ร่วมกับฐานข้อมูลทะเบียนสุขภาพ เกิดรูปแบบการควบคุมโรคโดยการใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และสามารถแจ้งข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกทางระบบ Online ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
Article Details
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
2. กระทรวงมหาดไทย. 2550. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2550. Retrieved February 25, 2021 from http://www.saphalampang.com/downloads/regulation_map_tax_2550.pdf
3. อภิรัตน์ โสกำปัง. 2558. แนวทางการดาเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกตามมาตรการ 3-3-1. Retrieved February 15, 2021 from http://odpc9.ddc.moph.go.th/download/331.pdf
4. Phongpisanu Boonda. 2020. A Technique of Modeling in Public Health Research and Development. World Journal of Public Health Volume 5, Issue 4, December 2020, Pages: 89-98 Retrieved March 16, 2021 from http://article.sciencepublishinggroup.com/pdf/10.11648.j.wjph.20200504.13.pdf
5. กีรติ พลเพชร. 2551. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการวางแผนป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
6. เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี, สำนักงาน. 2561. รายงานประจำปี 2561. Retrieved February 10, 2021 from https://www.wichainburee.go.th/contact.php
7. อรยา ปรีชาพานิช และคณะ. 2558. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของจังหวัดสงขลา. Retrieved February 10, 2021 from https://www.tci-thaijo.org/index.php/tsujournal/article/download/55415/46028
8. เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ และคณะ. 2562. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. Retrieved February 10, 2021 from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/download/157199/119943/
9. กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. 2553. คู่มือการประเมินผลตามตัวชี้วัดงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก. Retrieved March 17, 2021 from http://203.157.181.13/cdyaso/km/dhf/anual_province.pdf
10. สมบัติ อยู่เมือง. 2548. การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย (GIS application for HPAI management in Thailand). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.