การประเมินผลโครงการโรงเรียนต้นแบบในการป้องกันและควบคุมโรคหนอนพยาธิโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่โครงการพระราชดำริฯจังหวัดตาก

Main Article Content

พรสุรางค์ ราชภักดี
คำพล แสงแก้ว
เสาวนีย์ ดีมูล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ประเมินผลโครงการโรงเรียนต้นแบบในการป้องกันควบคุมโรคหนอนพยาธิโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่โครงการพระราชดำริฯ 2)เสนอแนวทางการพัฒนาปรับปรุงโครงการ เป็นการประเมินผลตามรูปแบบ CIPP Model กลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มแบบเจาะจงผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 15 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนโรงเรียนบ้านทีสะหน่อ ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ปีการศึกษา 2561 จำนวน 86 ราย สุ่มแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลผลการตรวจรักษาโรคหนอนพยาธิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ


ผลการวิจัย พบว่าด้านบริบทภาพรวมกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 100) เห็นด้วยในระดับมาก (x̅=3.00, SD=0.00) ด้านปัจจัยนำเข้าภาพรวมกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 93.33) เห็นด้วยว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก (x̅=2.93, SD=0.26) ด้านกระบวนการดำเนินงานภาพรวมกลุ่มตัวอย่าง (ร้อยละ 86.67) เห็นด้วยระดับมาก (x̅=2.87, SD=0.35) และด้านผลผลิตภาพรวมกลุ่มตัวอย่าง (ร้อยละ 93.33) เห็นด้วยในระดับมาก (x̅=2.93, SD=0.26) อัตราการพบเชื้อหนอนพยาธิในนักเรียน พบว่าอัตราการพบเชื้อลดลง ก่อนดำเนินการอัตราการพบเชื้อ ร้อยละ 72.00 หลังดำเนินการพบว่าอัตราการพบเชื้อ ร้อยละ 20.93 โดยพื้นที่ศึกษามีกิจกรรม การตรวจรักษาโรคหนอนพยาธิ การเรียนการสอนเรื่องหนอนพยาธิในโรงเรียน การสื่อสารความเสี่ยง การผลิตสื่อภาษาท้องถิ่น และการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร. ระบาดวิทยาโรคหนอนพยาธิผ่านดินในพื้นที่ห่างไกลถิ่นทุรกันดารและการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2553; 6(2): 200-211.
2. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคหนอนพยาธิที่ติดต่อผ่านทางดิน. คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ระดับประถมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2547. หน้า 1-68.
3. สุภาวดี เพชรคง. การติดเชื้อหนอนพยาธิของนักเรียนระดับประถมศึกษาในอำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์บัณฑิต). สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2547.
4. ศรีวิภา ช่วงไชยยะ นงลักษณ์ เหลาพรม ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยมธนากร พรมโนภาส กรรณิการ์ ประชานอก วิชชุดา แมดจ่อง และคณะ. ความชุกของหนอนพยาธิใบไม้ตับในตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. SNRU Journal of Science and Technology 2016; 8(3): 301-308.
5.สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติงาน โครงการควบคุมโรคหนอนพยาธิในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร; 2559.
6. แผนงานควบคุมโรคหนอนพยาธิตามโครงการพระราชดําริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ปี 2560-2564. กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2563 จาก http://plan. ddc.moph.go.th/meeting30_1augsep/meetting30_1/Documents/5.%20CD/7.1%20%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AF%20%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AF.pdf.
7. วิภาพร ทิพย์อามาตย์ อารยา ประเสริฐชัย ธีระวุธ ธรรมกุล. การประเมินผลการดำเนินงานโรงเรียนและชุมชนต้นแบบควบคุมป้องกันโรคหนอนพยาธิ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน2563; 6(4):95-107.
8. สมหมาย ซาน้อย. การประเมินผลโครงการกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อนำดีถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ครบ 70 ปีในพุทธศักราช 2559 พร้อมทั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจะทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ตลอดจนในปี พุทธศักราช 2560พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเจริญพระชนมพรรษา 90 พรรษาฯ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ปี2560 กรณีศึกษาตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2562; 1(1): 51-63.
9. นิรันดร บุญเกิด.ความชุกและพฤติกรรมการป้องกันโรคหนอนพยาธิในทางเดินอาหารของนักเรียนศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่(วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต).ภาควิชาสาธารณสุข: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.
10. บรรจบ ศรีภา พงษ์ศักดิ์ ภูกาบขาว ธนพร นฤนาทวัฒนา.โรงเรียนปลอดโรคพยาธิใบไม้ตับแบบยั่งยืนต้นแบบแก่งละว้า จังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสนับสนุนการวิจัย; 2556.
11. เกษแก้ว เสียงเพราะ วรยุทธ นาคอ้าย วิชาญ ปานัน. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหนอนพยาธิที่ติดต่อผ่านดินของนักเรียน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2559; 46(1): 16-30.
12. อัญชลี กีฬาแปง. การป้องกันโรคพยาธิแส้ม้าของนักเรียนระดับประถมศึกษาแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ส่องสอน. วารสารราชภัฎเชียงใหม่ 2557; 15(1): 5-13.
13. เกษตร ปะที. ความชุกและปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับการเกิด โรคหนอนพยาธิของประชาชน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน พ.ศ. 2559. วารสารสุขภาพภาคประชาชน 2560; 12(4): 36-42.