รูปแบบการทำงานที่บ้านของบุคลากรในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

วรรณา วิจิตร
เธียรรัตน์ ธีร์ระพิบูล
ณัฐพล ฉายศิริ

บทคัดย่อ

วิกฤตทางสาธารณสุข อันเนื่องจากการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  ส่งผลโดยตรงต่อปัญหาสุขภาพประชาชน และกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมร้ายแรงเป็นวงกว้าง มาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ด้วยการทำงานที่บ้าน (Work From Home, WFH) เป็นทางเลือกใหม่ที่เป็นโอกาสป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19  การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการทำงานที่บ้านของบุคลากรในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก (สคร.2 พล.)  ประชากรที่ศึกษาได้จากการเลือกแบบเจาะจง คือ บุคลากรที่ได้รับคำสั่งให้ WFH ระหว่างเดือนเมษายน ถึง พฤษภาคม 2563 มีรูปแบบการทำงานที่บ้าน โดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม I am SARABAN และ Check-in Work From Home Web Application Online ที่สร้างขึ้นจากแนวคิด Digital Transformation แปลงสภาพการทำงานรูปแบบเดิมเป็นดิจิตอล นำมาใช้ประโยชน์ด้านการสื่อสารข้อมูลทางราชการและบันทึกข้อมูลการทำงานของบุคลากรที่ WFH แทนการทำงานในรูปแบบเดิม  ผลการศึกษา พบว่า บุคลากร สคร.2 พล. จำนวน 92 คน จาก 11 กลุ่มงาน ที่ได้รับคำสั่งอนุมติให้ปฏิบัติงาน WFH  และให้แสดงตนลงเวลาปฏิบัติงานไม่เกิน 08.30 น. และออกปฏิบัติงานตั้งแต่ 16.30 น. มีการทำงานจากบ้านโดยใช้โปรแกรมดังกล่าว รวมจำนวน 969 ครั้ง ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน พบว่า บุคลากรที่ WFH ลงเวลาเข้าปฏิบัติงานตาระเบียบ ภายในเวลา 08.30 น. ร้อยละ 95.2 มีภาวะสุขภาพก่อนปฏิบัติงานในภาวะปกติ ร้อยละ 98.5 และมีความพอใจถึงพึงพอใจมากต่อผลการปฏิบัติงาน ร้อยละ 98.8 ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานจากผู้ใช้งาน โปรแกรม I am SARABAN และ Check-in Work From Home Web Application จำนวน 77 คน มีความพึงพอใจในภาพรวมระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.28 และ 3.42  ตามลำดับ โดยเกิดประโยชน์ต่อการนำไปใช้จริงในการปฏิบัติงาน และคุ้มค่า ลงทุนน้อยแต่ได้ประโยชน์มาก แต่การประเมินคุณภาพของงานควรให้มีการประเมินจากบุคคลภายนอกองค์กรด้วยเช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

World Health Organization Thailand. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [Internet]. [cited 2021 Jan 9 ]; Available from https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/2020-04-28-tha-sitrep-66-covid19-th-final.pdf?sfvrsn=32566b60_0

กรมควบคุมโรค. แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 สำหรับ

ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/int_protection.php

การ Work From Home คืออะไร มีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้

จาก: https://www.digital-ecom.com/th/digital-economy/work-from-home/

วิธี Work From Home ทำงานที่บ้าน งานด้าน SEO และงานทั่วไป.[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://papayiw.com/how-to-work-from-home/

ทำงานที่บ้าน เวิร์กจริงดิ. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gqthailand.com/culture/article/re-work-from-home

รู้ก่อนจะ Work From Home มีอะไรบ้าง ที่องค์กรต้องทำ. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้

จาก: https://www.prosoft.co.th/Article/Detail/122497

มนัสนันท์ ศรีนาคาร และพิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ. การทำงานทางไกลและที่บ้าน.สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:

https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/29085

Clark Merrefield. Working from home: What the research says about setting boundaries, staying productive and

reshaping cities. The Journalist’s Resource information the new. [Internet]. 2020 [cited 2021 March 07]; Available from https://journalistsresource.org/economics/working-from-home-telework-research/

Kevin M. Kniffin et al. COVID-19 and the workplace: Implications, issues, and insights for future research and action. [Internet]. [cited 2021 March 07]; Available from https://psycnet.apa.org/record/2020-58612-001

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDIR). วิจัย Work From Home สร้างชีวิตสมดุลขึ้นคนทำงาน. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.posttoday.com/economy/news/625862

Agus Purwanto et al. Impact of Work From Home (WFH) on Indonesian Teachers Performance During the Covid-19 Pandemic: An Exploratory Study. International Journal of Advanced Science and Technology. 2020; 29(5): 6235 – 6244.

Laura M. Giurge and Vanessa K. Bohns. 3 Tips to Avoid WFH Burnout. [Internet]. 2020 [cited 2021 March 07]; Available from https://scholar.google.co.th/scholar?q=research%2BWFH&hl=th&as_sdt=0&as_vis=1&oi=scholart

กรมควบคุมโรค. (2563). คำสั่งกรมควบคุมโรคที่ 474/2563 เรื่อง ให้บุคลากรปฏิบัติงานนอกสำนักงานและปฏิบัติงานเหลื่อมเวลา ภายใต้มาตรการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19. 23 มีนาคม 2563.

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค. ตัวชี้วัดที่ 4.1 ระดับความสำเร็จของนวัตกรรมที่หน่วยงานสร้างใหม่และนำไปใช้ประโยชน์/รายละเอียดตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงาน กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 7 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/psdg/news.php?news=9717&deptcode=

วลัญช์ ก้าวสัมพันธ์. ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติและการยอมรับการทำงานระยะไกล กรณีศึกษา ธนาคารแห่งประเทศไทย. มอง ‘work from home’ ผ่านงานวิจัย. The TSIS. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 7 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thetsis.com/post/work-from-home

ชาลิณี ฐิติโชติพณิชย์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ระบบการทำงานทางไกล (Telework) ของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. มอง ‘work from home’ ผ่านงานวิจัย. The TSIS. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 7 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thetsis.com/post/work-from-home

ปุริศ ขันธเสมา. ความพึงพอใจในการทำงานที่บ้านในช่วงโควิดระบาด โควิด-19 ของกลุ่มงานพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 7 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://e-research.siam.edu/kb/satisfaction-on-work-from-home/