การเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพนักงานขับรถขนส่งสินค้าคนไทยและคนเมียนมา ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศพรมแดนแม่สอด แห่งที่ 2 เดือนตุลาคม 2563 ถึง เดือน มกราคม 2564

Main Article Content

วรรณา วิจิตร
ศรายุธ อุตตมางคพงศ์
ธนัญญา สุทธวงค์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศพรมแดนแม่สอด แห่งที่ 2 จังหวัดตาก ประชากรที่จะศึกษา คือ พนักงานขับรถขนส่งสินค้าคนไทย และคนเมียนมา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิธีการศึกษา ศึกษาเป็นเชิงพรรณนาย้อนหลัง ผลการศึกษา เก็บตัวอย่างคนไทย 11,610 ตัวอย่าง ผลพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.0009 เก็บตัวอย่าง คนเมียนมา 3,608 ตัวอย่าง ผลพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 33 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.91  และลงโปรแกรม DDC-CARE ในกลุ่มพนักงานขับรถคนไทย 2,966 คน ผลพบมีอาการทางเดินหายใจ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 0.64 ผลการประเมินมาตรการของพนักงานขับรถขนส่งสินค้าคนไทย ใส่หน้ากากอนามัย ร้อยละ 82.8 มี ระดับความพึงพอใจต่อการเก็บตัวอย่างส่งตรวจ COVID -19  อยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย 4.35 คะแนน (คะแนนเต็ม 5 คะแนน) ระดับความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมรายงานอาการรายวัน อยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย   4.31 คะแนน ประเมินมาตรการ Safety Zone ขนถ่ายสินค้าระหว่างคนไทยและเมียนมา พบว่า คนไทย สวมหน้ากากอนามัย ร้อยละ 100 สวมหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง ร้อยละ 62.5 ส่วนพนักงานขับรถ ของคนเมียนมา สวมหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง ร้อยละ 70.0 การเว้นระยะห่าง 1-2 เมตร ขณะขนส่งสินค้า ร้อยละ 62.5 มีการทำความสะอาดมือหรือล้างมือหลังขนสินค้าเสร็จ ร้อยละ 60.0 และมีการรับส่งเงิน ร้อยละ 20.0 การเฝ้าระวัง COVID -19 ยังมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นต้องมีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งในและนอกประเทศ เพื่อหารูปแบบในการเฝ้าระวังที่เหมาะสม รวมทั้งการดำเนินการตามมาตร D-M-H-T-T เพื่อให้ประชาชนมีการปฏิบัติตัวตามวิถีชีวิตแนวใหม่ (New Normal)

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย.
2. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ฉบับ 15 พฤษภาคม 2563.
3. Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Handbook for public health workers: Public health emergency concern for COVID-19 outbreak in Thailand [Internet]. 2020 Mar 31 [cited 2020 Apr 4]. Available from: https://ddc.moph.go.th/ viralpneumonia/g_other.php. (in Thai)
4. Du Z , Wang L , Cauchemez S , Xu X, Wang X, Cowling BJ, et al. Risk for transportation of 2019 novel coronavirus disease from Wuhan to other cities in China. Emerg Infect Dis 2020; 26(5). doi:10.3201/eid2605.200146.
5. WHO-China Joint Mission. Report of theWHO-China Joint Mission on coronavirus disease 2019 (COVID-19), 16-24 February 2020. Beijing, China [Internet]. 2020 [cited 2020 Mar 17]. Available from: https://www.who.int/docs/ default-source/coronaviruse/who-china-joint- mission-on-covid-19-final-report.pdf