ความชุกและผลกระทบทางสุขภาพจากการสูบบุหรี่ของประชาชนวัยทำงาน จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

เพชรรัตน์ กิจสนาโยธิน

บทคัดย่อ

 


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ศึกษาความชุกและผลกระทบทางสุขภาพจากการสูบบุหรี่ของประชาชนวัยทำงาน จังหวัดสุโขทัย  กลุ่มตัวอย่างจำนวน 420 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลระหว่าง 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2562 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ Odds ratios และ confidence intervals ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่สูบบุหรี่เพศชายร้อยละ 97.37 อายุเฉลี่ย 41.94 ปี สถานภาพคู่ร้อยละ 65.79 จบประถมศึกษามากที่สุด ร้อยละ 52.63 ดื่มสุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 86.84 ส่วนกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่ เพศชาย ร้อยละ 62.79 อายุเฉลี่ย 45.06 สถานภาพคู่ร้อยละ 68.02 จบประถมศึกษามากที่สุด ร้อยละ 39.53 ดื่มสุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 47.09  อัตราความชุกการสูบบุหรี่ของประชาชนวัยทำงานเท่ากับ 18.10 อายุที่เริ่มสูบบุหรี่น้อยที่สุดเท่ากับ 15 ปี โดยอายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ เท่ากับ 21.29  ปี สาเหตุที่สูบบุหรี่มากที่สุดคือต้องการทดลองสูบบุหรี่ร้อยละ 65.79 ลงมาคือเพื่อนชักชวน ร้อยละ 34.21 และพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่สูบบุหรี่ ได้รับผลกระทบทางสุขภาพมิติกายมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่สูบบุหรี่ได้แก่ การรับรู้กลิ่นลดลง 1.843 เท่า ประสาทสัมผัสของลิ้นรับรู้รสชาติอาหารลดลง 2.283 เท่า ระคายเคืองต่อจมูก ตา คอ แสบตา น้ำตาไหล 2.227 เท่า อาการไอบ่อยครั้ง 1.757 เท่า เป็นโรคความดันโลหิตสูง  1.741 เท่า เป็นหวัดบ่อย 1.707 เท่า ลำตัว เสื้อผ้า ผมมีกลิ่นเหม็น 1.989 เท่า ฟันเหลือง 2.944 เท่า มีกลิ่นปาก 2.934 เท่า ริมฝีปากคล้ำ 2.364 เท่า ผลกระทบทางสุขภาพมิติจิตใจมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่สูบบุหรี่ได้แก่ อาการนอนไม่หลับ 2.186 เท่า ผลกระทบทางสุขภาพมิติสังคมมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่สูบบุหรี่ได้แก่  ด้านเกิดขัดแย้งกับคนในครอบครัว 2.084 เท่า จากผลการวิจัย วิธีเดียวที่จะป้องกันการได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากการสูบบุหรี่ คือการเลิกสูบบุหรี่

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. เสน่ห์ แสงเงิน. (2562). ผลกระทบทางสุขภาพจาก การสูบบุหรี่ของวัยรุ่น จังหวัดสุโขทัย. สุโขทัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

2. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. (2562). บุหรี่คือฆาตกร. ก้าวทันวิจัยกับ ศจย. 11 (2) : 4-5

3. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. (2563). ติดบุหรี่ ติด COVID-19 เสี่ยงตายสูง. ก้าวทันวิจัยกับ ศจย. 12 (2) : 4-7

4. แผนงานการพัฒนาดัชนีภาระทางสุขภาพเพื่อการพัฒนานโยบาย. (2560). รายงานภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชากรไทย พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2562 จาก https://dol.thaihealth.or.th/Media/Index/2b73be3a-d98b-e711-80e3-00155d65ec2e?isSuccess=False

5. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. (2560). สรุป 25 ปี การควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2535 – 2560, (กรุงเทพมหานคร : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์, 2560) น. 42-48.

6.สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.

7. ศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. (2553). สรุปสถานการณ์การควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ.

8. Daniel WW.(2010). Biostatics: Basic Concepts and Methodology for the Health. John-Wiley-Sons-Asia-Pte-Ltd.

9. ศศิธร ชิดนายีและวราภรณ์ ยศทวี. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นจังหวัดอุตรดิตถ์.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์; 10(1) : 83-93.

10. จุรีย์ อุสาหะ ฐิติพร กันวิหค เศรณีย์ จุฬาเสรีกุล และวิไลลักษณ์ หฤหรรษพงศ์. (2558). การสังเคราะห์อภิมานงานวิจัยปัจจัยป้องกันพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในเยาวชนไทย.นนทบุรี : สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

11. Barad C.B. (1979). Smoke on the job: the controversy heats up. Occup health safety; 48(1) : 21-24.

12. สมคิด ตันติไวทยพันธุ์ และเสน่ห์ แสงเงิน. (2555). ผลกระทบทางสุขภาพจากการได้รับควันบุหรี่มือสองของสตรีที่สามีสูบบุหรี่ จังหวัดสุโขทัย. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย; 2(3) : 267-275.

13 Salo PM, Xia J, Johnson CA, Li Y, Kissling GE, Avol EL. (2004). Respiratory symptoms in relation toresidential coal burning and environmental tobacco smoke among early adolescents in Wuhan, China: a cross-sectional study. Environmental Health; 3(1) : 14.

14 David G L, Koh W-P, Lee H-P, Yu M C, London S J. (2005). Childhood exposure to Environmental tobacco smoke and chronic respiratory symptoms in non-smoking adults: the Singapore Chinese Health Study. Thorax; 60(12) :1052-1058.

15 Zhang J, Qian Z, Kong L, Zhou L, Yan L, Chapman RS. (1999). Effects of air pollution on respiratory health of adults in three Chinese cities. Archives of Environmental Health; 54(6) : 373-381.

16 มูลนิธิการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. (2554). ควันบุหรี่มือสองภัยจากบุหรี่ที่เราไม่ได้สูบ. นนทบุรี: มูลนิธิการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.