ประสิทธิผลการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกแบบบูรณาการในการควบคุมโรคมาลาเรียในหมู่บ้านบริเวณชายแดนไทย-พม่าอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตากปี พ.ศ. 2558–2562

Main Article Content

ประเสริฐ สอนเจริญทรัพย์
ชำนาญ ปินนา
พีรยุทธ บุญปาล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลการค้นหาผู้ป่วยมาลาเรียเชิงรุกแบบบูรณาการในพื้นที่หมู่บ้านบริเวณชายแดนไทย-พม่า อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ปี พ.ศ. 2558–2562 โดยเปรียบเทียบการลดอุบัติการณ์การติดเชื้อมาลาเรีย กลุ่มตัวอย่างเป็นพื้นที่แพร่เชื้อ A1 จำนวน 121 หมู่บ้าน เก็บข้อมูลจากโปรแกรมมาลาเรียออนไลน์โครงการกำจัดไข้มาลาเรียประเทศไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ และค่าสถิติ Wilcoxon signed-rank testผลการศึกษาพบว่าแนวโน้มสถานการณ์มาลาเรียอำเภอท่าสองยาง จากปี 2558 ถึงปี 2562 อัตราป่วยลดลงร้อยละ 69.4 จำนวนผู้ติดเชื้อฟัลซิพารั่ม (PF) และไวแวกซ์ (PV) ได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเชื้อ PF ลดลง ร้อยละ 93.6 ในขณะที่เชื้อ PV ลดลงร้อยละ 56.7 แสดงให้เห็นว่ามาตรการเชิงรุกที่เน้นหนักการค้นหาและกำจัดเชื้อในคนด้วยการใช้ยาผสมอนุพันธ์อาร์ติมิซินิน ทำให้เชื้อมาลาเรียชนิด PF ลดลงอย่างมากและมีแนวโน้มจะหมดไปในอนาคตอันใกล้ ข้อเสนอแนะ 1) ผู้บริหารระดับจังหวัดควรให้ความสำคัญโดยกำหนดให้เป็นวาระของจังหวัด 2) กรมควบคุมโรคควรสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น3) หน่วยบริการสาธารณสุขตามแนวชายแดนควรจัดบริการให้ประชาชนที่เจ็บป่วยด้วยโรคมาลาเรียเข้าถึงบริการได้ตลอดเวลา 4) รูปแบบการบูรณาการควบคุมโรคมาลาเรียของอำเภอท่าสองยางควรนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่บริเวณชายแดนอื่นของประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. องค์การอนามัยโลก. World malaria report 2010. เจนีวา, สวิตเซอร์แลนด์: องค์การอนามัยโลก. 2557.

2. องค์การอนามัยโลก. Eliminating Malaria in the Greater Mekong Subregion: United to End a Deadly Disease. เจนีวา, สวิตเซอร์แลนด์: องค์การอนามัยโลก. 2559.

3. ชำนาญ ปินนา. ประสิทธิผลของการควบคุมโรคมาลาเรียในจังหวัดพื้นที่แพร่เชื้อ ภายใต้โครงการกองทุนโลก. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2556;22(6):944-55.

4. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. แนวทางการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลโครงการกองทุนโลกด้านมาลาเรีย. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

5. Carrara VI, Serial S, Hungarian J, Rojanawatsirivet C, Proux S, Gilbos V, et al. Deployment of early diagnosis and mefloquine-artesunate treatment of falciparum malaria in Thailand: the Tak Malaria Initiative. PLoS Med 2006; 3: e183.

6. Saita S, Silawan T, Parker DM, Sriwichai P, Phuanukoonnon S, Sudathip P, Maude RJ, White LJ, Pan-Ngum W, 2019. Spatial heterogeneity and temporal trends in malaria on the Thai– Myanmar border (2012–2017): a retrospective observational study. Trop Med Infect Dis 4: E62.

7. Cindy S. Chu, Verena I. Carrara, Daniel M. Parker, et al. Declining Burden of Plasmodium vivax in a Population in Northwestern Thailand from 1995 to 2016 before Comprehensive Primaquine Prescription for Radical Cure. Am. J. Trop. Med. Hyg., 102(1), 2020, pp. 147–150.

8. Chu CS et al., 2018. Comparison of the cumulative efficacy and safety of chloroquine, artesunate, and chloroquine-primaquine in Plasmodium vivax malaria. Clin Infect Dis 67: 1543–1549.

9. Rodriquez-Barraquer I, Arinaitwe E, Jagannathan P, et al. Quantification of anti-parasite and anti-disease immunity to malaria as a function of age and exposure. eLife 2018; 7: e35832.