การให้คำปรึกษาร่วมกับการใช้สื่อวีดิทัศน์ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ทราบผลเลือดครั้งแรก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเริ่มยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ช่วยลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาสและลดอัตราการตาย การให้คำปรึกษาแบบเดิมยังไม่สามารถโน้มน้าวให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เข้ารับยาต้านไวรัสในเวลาที่เหมาะสม วัตถุประสงค์วิจัยครั้งนี้ เพื่อเปรียบเทียบอัตราการมาตรวจตามนัด และการเปิดเผยผลเลือด ระหว่างการใช้กระบวนการ ให้คำปรึกษาแบบเดิมและแบบใหม่ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ทราบผลเลือดครั้งแรก รูปแบบศึกษา เป็นการศึกษาเชิง efficacy research รูปแบบ historical controlled intervention ที่หน่วยให้คำปรึกษาโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่ทราบผลเลือดครั้งแรก การวัดผลและวิธีการศึกษา โดยทำการรวบรวมข้อมูลลักษณะทั่วไป ลักษณะทางคลินิก ติดตามประเมินการมาตรวจตามนัด การเปิดเผยผลเลือด วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเปรียบเทียบ 2 กลุ่มโดยใช้สถิติ exact probability นำเสนอด้วย ordinal odds ratio
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 297 ราย เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 60 ราย และกลุ่มควบคุม จำนวน237 ราย เมื่อเปรียบเทียบการเปิดเผยผลเลือดในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีสัดส่วนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 61.7 และร้อยละ 41.8, P = .009) ข้อเสนอแนะการนำไปใช้: ผู้ให้คำปรึกษาควรใช้กระบวนการให้คำปรึกษาแบบใหม่กับผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกราย เพื่อเพิ่มการมาตรวจตามนัดและเพิ่มการเปิดเผยผลเลือด
Article Details
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
dos/news.php? news
2. Hfocus.org เจาะลึกระบบสุขภาพ. ไทยผลักดันเป้าหมายเดินหน้า ยุติปัญหาเอดส์ในปี 2573 ไม่ติดไม่ตายไม่ตีตรา [อินเตอร์เน็ต].2563[เข้าถึงเมื่อ 20 ต.ค. 2563] เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org
3. ชัยยศ คุณานุสนธิ์. โรคเอดส์และการติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย.คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข[อินเตอร์เน็ต].2000[เข้าถึงเมื่อ 20 ต.ค. 2563] เข้าถึงได้จาก: https//kb.hsri.or.th/dspace/
handle/11228/1415?locale-attibute=th
4.หน่วยเวชระเบียน. รายงานสถิติประจำปี .อุตรดิตถ์: งานทะเบียน โรงพยาบาลอุตรดิตถ์; 2562
5. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. การให้คำปรึกษาเรื่องเอชไอวี. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด ;2554. หน้า 23-36
6. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. การให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมการป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีในผู้ติดเชื้อเอชไอวี. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด ;2555. หน้า 1-9
7. บุษบา ทาธง, ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์ และบุษกร แก้วเขียว. ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้แอพพิเคชั่นไลน์ ต่อผลลัพธ์การเรียนรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลบัณฑิต ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท .วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์; 2562: 11: 157-168
8. JungpanichA and Srisailaun. Effect of Using Daily care plan video teaching on ckinical self-confidence and satisfaction of nursing students, Kuakarun faculty of nursing, Navaminddrahiraj University. Kuakarun Journal of nursing; 2015:22:17-34
9. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มืออ่านประกอบ การให้คำปรึกษาเรื่องเอชไอวี.กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2555. หน้า 23-36
10. Nawanapparatsakul S. The quality of Among people living with HIV/AIDS, Takhli hospital, Sawnapracharak Medical Journal; 2007:4:656-671
11. โสภิษตา ตันธนาธิป, นงค์ลักษณ์ สมจิตต์ และภูโมกข์ อัมพวา. ผลขอการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดิทัศน์แอนิเมชันต่อความรู้ในการปฏิบัติตัวป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ของพนักงานบริการหญิงเมียนมา ปี พ.ศ. 2558.วารสารโรคเอดส์; 2561:30:90-99