การสอบสวนการระบาดของโรคไวรัสซิกา จังหวัดหนองคาย ช่วง พ.ศ.2558-2562

Main Article Content

ธนกร สนั่นเอื้อ

บทคัดย่อ

จังหวัดหนองคาย ช่วง พ.ศ.2558-2562 มีแนวโน้มของการเกิดโรคไวรัสซิก้าสูงขึ้นการศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การสอบสวนโรคไวรัสซิกา จังหวัดหนองคาย โดยวิเคราะห์การสอบสวนโรคไวรัสซิกา จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย ช่วง พ.ศ.2558-2562 จำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกจากเวชระเบียนและแบบสอบถาม ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่เพศหญิง ร้อยละ 63.8 อายุ 25-44 ปี ร้อยละ 42.6 อาชีพ เกษตรกร ร้อยละ 27.7 และนักเรียน ร้อยละ 25.5 พบผู้ป่วยมากที่สุดในอำเภอโพธิ์ตาก จำนวน 22 คน ร้อยละ 46.8 รัตนวาปี จำนวน 13 คน ร้อยละ 27.7 โพนพิสัย จำนวน 10 คน ร้อยละ 21.3 และเฝ้าไร่ จำนวน 2 คน ร้อยละ 4.3 พ.ศ. 2559 ผู้ป่วย จำนวน 11 คน พบมากเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 ผู้ป่วย จำนวน 12 คน พบมากเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 ผู้ป่วย จำนวน 24 คน พบมากเดือนกันยายน ปัจจัยเสี่ยงช่วง 14 วันก่อนป่วย พบในผู้สัมผัสผู้ป่วยมากที่สุด ร้อยละ 68.1 อยู่ในรัศมีบ้านผู้ป่วย 51-100 เมตร ร้อยละ 42.6 และเดินทางไปพื้นที่มีประวัติเสี่ยงโรคซิกา ร้อยละ 36.2 ตามลำดับ ผู้สัมผัสร่วมบ้านที่ป่วยโรคไวรัสซิการายใหม่ 1-2 คน ร้อยละ 93.6 ผลสำรวจลูกน้ำยุงลาย Day=0 พบว่า CI/HI>0 ร้อยละ 100 หญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 6.4 แต่ไม่พบติดเชื้อไวรัสซิกา สรุป งานวิจัยนี้ได้สะท้อนผลการเฝ้าระวังโรค ด้านบุคคล สถานที่และเวลา

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการวินิจฉัย ดูแลรักษาโรคไข้ซิกา (Zika virus disease) สำหรับแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. คณะกรรมการวิชาการด้านการรักษาพยาบาลโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2559: 1-9.

2. สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus disease) ประจำวันที่ 15 พฤษภาคม 2560. <ออนไลน์> [เข้าถึงเมื่อ 21 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://beid.ddc.moph.go.th

3. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังเหตุการณ์ และควบคุมโรคระบาดในชุมชน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2559: 1-5.

4. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 อุดรธานี. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ผู้ป่วยในระบบเฝ้าระวัง รง. 506 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 อุดรธานี; 2562.

5. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส Zikaสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ปี 2559. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2559.

6. ญนัท วอลเตอร์, อาภรณ์ ภู่พัทธยากร, ปฐมามาศ โชติบัณ. โรคติดเชื้อไวรัส Zika กับการตั้งครรภ์: บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนในการป้องกันโรค. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561; 5(2): 312-321.

7. วิรุฬห์ พรพัฒน์กุล. โรคติดเชื้อไวรัสซิกาและสถานการณ์โรคในจังหวัดนนทบุรี. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2560; 17(2): 244-250.

8. Santa Rita TH, Barra RB, Peixoto GP, Mesquita PG, Barra GB. Association between suspected Zika virus disease during pregnancy and giving birth to a newborn with congenital microcephaly: a matched case–control study. BMC Res Notes 2017; 10: 457-61.

9. Zambranaa JV, Carrillob FB, Calderona RB, Colladoa D, Sancheza N, Ojedaa S, et al. Seroprevalence, risk factor, and spatial analyses of Zika virus infection after the 2016 epidemic in Managua, Nicaragua. Proc Natl Acad Sci USA 2018; 115(37): 9294–9299.