พฤติกรรมการฆ่าตัวตายของประชาชน อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

พงศธร เหลือหลาย
ยุทธนา แยบคาย

บทคัดย่อ

การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการฆ่าตัวตายของประชาชน อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย เก็บรวบรวมข้อมูจากเวชระเบียนของประชาชนที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย จำนวน 90 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มฆ่าตัวตายสำเร็จส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 82.1 อายุ 51-60 ปี ร้อยละ 39.3 สถานภาพสมรส ร้อยละ 60.7 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 39.3 โรคทางร่างกายป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 50.0 โรคทางจิตเวชป่วยด้วยโรคซึมเศร้า ร้อยละ 21.4 ภูมิลำเนาอยู่ในตำบลคลองมะพลับ ร้อยละ 46.4 ช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ฆ่าตัวตายในช่วงเวลา 12.01 – 18.00 น. ร้อยละ 39.9 ปัญหาหรือเหตุการณ์ที่กระตุ้นจากการทะเลาะกับคนใกล้ชิด ร้อยละ 32.1โดยใช้วิธีการทำร้ายตนเองด้วยการผูกคอ ร้อยละ 57.1 และ 2) กลุ่มพยายามฆ่าตัวตายส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 54.8 อายุ ≤ 20 ปี ร้อยละ 30.6 สถานภาพสมรส ร้อยละ 48.4 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 33.9 โรคทางร่างกายป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 9.7 โรคทางจิตเวชป่วยด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง ร้อยละ 21.0 ภูมิลำเนาอยู่ในตำบลคลองมะพลับ ร้อยละ 29.0 ช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์พยายามฆ่าตัวตายในช่วงเวลา 18.01 – 24.00 น. ร้อยละ 35.5 ปัญหาหรือเหตุการณ์ที่กระตุ้นจากการทะเลาะกับคนใกล้ชิด ร้อยละ 41.9 โดยใช้วิธีการทำร้ายตนเองด้วยการกินยาเกินขนาด ร้อยละ 32.3

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1.World Health Organization. Suicide prevention [Internet]. 2020. [cited 2020 October 9]; Available from: https://www.who.int/health-topics/suicide#tab=tab_1
2.กรมสุขภาพจิต. รายงานจำนวนการฆ่าตัวตายของประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2562]; เข้าถึงได้จาก:https://www.dmh.go.th/report/suicide/
3.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สุโขทัย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย; 2562.
4.โรงพยาบาลศรีนคร. รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สุโขทัย: 4. โรงพยาบาลศรีนคร; 2562.
5.กิตติวัฒน์ กันทะ, ช่อผกา แสนคำมา, ศศิธร กันทะ.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตาย อำเภอจุน จังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2562; 6: 16-23.
6.ธัญชนก บุญรัตน์. พฤติกรรมการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปี 2554-2557. วารสารวิชาการทางการแพทย์ เขต 11 2559; 1: 101-109.
7.สมภพ เรืองตระกูล. จิตเวชศาสตร์พื้นฐานและโรคทางจิตเวช. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์; 2553.
8.อนุพงศ์ คำมา. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายสำเร็จ: กรณีศึกษาจังหวัดสุโขทัย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2556; 58: 3-16.
9.วินัย ธงชัย, วรรณิศา แสงโชติ, กนกวรรณ บำรุงเชาว์เกษม. สาเหตุการฆ่าตัวตายของข้าราชการตำรวจ: กรณีศึกษาการฆ่าตัวตายของข้าราชการตำรวจ ช่วงปี พ.ศ. 2555 – 2556. วารสารจิตวิทยาคลินิก 2558; 46: 30 – 39.
10.ธีระ ศิริสมุด, รุ่งนภา คำผาง, สุทธิษา สมนา, จอมขวัญ โยธาสมุทร. คู่มือเพื่อการป้องกันและดูแลปัญหาการฆ่าตัวตาย สำหรับ อสม. และแกนนำชุมชน. นนทบุรี: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ; 2555.