ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา : อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสริม ได้แก่ สภาพครอบครัวและผู้ดูแล
การรับรู้อาการของโรคต้อกระจก การให้คำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขแลสิทธิการรักษา ที่มีความสัมพันธ์กับการรักษาโรคต้อกระจกโดยการผ่าตัดในพื้นที่อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นที่ได้รับการคัดกรองในปี 2560-2562 ว่าเป็นโรคต้อกระจกจำนวน 106 คน เครื่องมือเป็นแบบบันทึกข้อมูลเวชระเบียนซึ่งเลือกเฉพาะข้อมูลที่จะใช้ในการศึกษาเท่านั้นการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างใช้ค่าความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยเสริมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการรักษาโรคต้อกระจก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา และ การทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคต้อกระจกส่วนใหญ่เพศหญิงร้อยละ 58.5 อายุเฉลี่ย 73 ปีอาชีพเกษตรกรร้อยละ 83.02 รายได้อยู่ในช่วง 1,000 - 5,000 บาท ร้อยละ72.6 และส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 68.87 ผลการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยเสริมกับการตัดสินใจรักษาโรคต้อกระจก พบว่า สภาพครอบครัวและผู้ดูแล การให้คำแนะนำของเจ้าหน้าที่การรับรู้อาการของโรคต้อกระจกแตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจรักษาโรคต้อกระจกแตกต่างกัน (p<.05) ส่วน ด้านสิทธิการรักษาส่งผลต่อการรักษาโรคต้อกระจกไม่แตกต่างกัน
Article Details
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
2. สำนักงานสถิติแห่งชาติ [อินเทอร์เนต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 ตค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://service.nso.go.th/nso/
nsopublish/citizen/news/poll_elderly-1.jsp
3. Gupta VB, Rajagopala M, Ravishankar B. Etiopathogenesis of cataract: an appraisal. Indian J Ophthalmol. 2014;62(2):103–110. [PMC free article] [PubMed] [Google Scholar]
4. Truscott RJ, Friedrich MG. The etiology of human age-related cataract. Proteins don’t last forever. Biochim Biophys Acta. 2016;1860(1 Pt B):192–198. [PMC free article] [PubMed] [Google Scholar]
5.โสภณ เมฆธน.การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาตา ปี 2559 - 2565 เพื่อพัฒนาบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยต้อกระจก ผู้ป่วยเปลี่ยนกระจกตา การคัดกรอง และแก้ปัญหาสายตาเด็ก;6 มิถุนายน 2559;โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี .
6. โรงพยาบาลนาหม่อม.โครงการคัดกรองต้อกระจก .2557.Hos.xp program
7. โรงพยาบาลนาหม่อม.โครงการคัดกรองต้อกระจก .2560-2562.Hos.xp program
8.รังสรรค์ คีละลาย , ประเสริฐ ประสมรักษ์.ผลของรูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเองในชุมชนของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจกในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนากอก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร.วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560; 5: 241-258
9. Kanthan GL, Wang JJ, Rochtchina E, Tan AG, Lee A, Chia EM, et al.Ophthalmology ;2008;115(5):808-814
10. โสมนัส โกยสวัสดิ์.ผลสัมฤทธิ์ของการจัดการต้อกระจกแบบบูรณาการ.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศีรษะเกศ สุรินทร์ บุรีรัมย์.2560;32: 145-156