การจำแนกชนิดของภาพอัลตราซาวด์ตับและท่อน้ำดี ในเขตอำเภอจุน จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
อำเภอจุนจังหวัดพะเยา มีปัญหาการเสียชีวิตจากมะเร็งตับและท่อน้ำดีอยู่ในจำนวนที่สูง เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งพบการเสียชีวิตแต่ละปีเท่ากับ 26, 30 และ 32 ต่อแสนประชากรตามลำดับ โรงพยาบาลจุนได้ทำการคัดกรองมะเร็งตับและท่อน้ำดี มาตั้งแต่ พ.ศ.2560 - 2562 โดยการเก็บข้อมูลจำแนกภาพจากการอัลตราซาวด์คัดกรองมะเร็งตับและท่อน้ำดีตามโครงการ CASCAP (Cholangiocarcinoma screening and care program)โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำไปใช้ในการป้องกันผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับและท่อน้ำดี ทำให้สามารถรักษาโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีตั้งแต่ระยะแรกๆ การวิจัยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้ข้อมูลย้อนหลังในกลุ่มประชากรที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 40 ปี ที่มีที่อยู่อาศัยในเขตอำเภอจุน ผลการศึกษา ผู้ป่วยจำนวน 659 คน แบ่งเป็นชาย 37.94% เป็นเพศหญิง 62.06% ส่วนมากจบชั้นประถมศึกษา ทำอาชีพเกษตรกรรม เคยตรวจอุจจาระ ไม่เคยได้รับการรักษาด้วยยาฆ่าพยาธิใบไม้ในตับ ไม่มีมีญาติเป็นมะเร็งตับและท่อน้ำดี ไม่เป็นโรคตับอักเสบบี ไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ไม่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา เคยรับประทานปลาดิบ ผลอัลตร้าซาวด์ พบปกติ 66.31% ผิดปกติ 33.69 % แบ่งเป็นท่อน้ำดีผิดปกติระดับ periductal fibrosis (PDF) PDF1 จำนวน 19.42% PDF2 0.76% PDF3 0.15% สรุปผลการวิจัย พบว่าประชากรกลุ่มเสี่ยงในอำเภอจุน มีจำนวน 26,436 คน ได้รับการอัลตร้าซาวด์คัดกรอง 659 คน คิดเป็น 2.50 % ของประชากรในพื้นที่ ตรวจพบความผิดปกติของตับและท่อน้ำดี 33.69% ของประชากรกลุ่มเสี่ยงในอำเภอ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับและท่อน้ำดี
Article Details
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
2. Imsamran, W., Chaiwerwattans, A., Wiangnon, S., Pongnikorn, D., Suwanrungrung, K., Sangrajrang, S. et al.(2015). Cancer in Thailand vol. VIII, 2010-2012, Bangkok.
3. Wild, C.P., Jansen, L.A.M., Cova, L. & Montesano, R. Molecular dosimetry of aflatoxin exposure: contribution to understanding the multifactorial aetiopathogenesis of primary hepatocellular carcinoma (PHC) with particular reference to hepatitis B Virus (HBV). Environ. Health Perspect.;1993. 99, p. 115 – 122.
4. IARC Monographs on the Evaluation of Carcinogenic Risk to Humans, Vol. 44, Alcohol Drinking Lyon, International Agency for Research on Cancer. 1988.
5. Srivatanakul, P., Parkin, D.M., Khlat, M., Chenvidhya, D., Chotiwan, P., Insiripong, S., Abbe, K.A. & Wild, C.P. Liver cancer in Thailand. II. A case – control study of hepatocellular carcinoma. Int. J. Cancer; 1991.May 30;(3) 48, 323 – 8.
6. IARC and Schistosomes. Liver flukes and Helicobacter pylori. IARC Working Group on the Evaluation of Carcinogenic Risks to Humans. Lyon, 7-14 June 1994. IARC Monogr Eval Carcinog Risks Hum ; 1994.
7. Munoz, N. & Bosch, E.X. Epidemiology of hepatocellular carcinoma. In: Okuda, K. & Ishak, K.G., eds, Neoplasms of the Liver, Tokyo, Springer; 1987. p. 3 – 19.
8. วนิดา โชควาณิชย์พงษ์. การสำรวจพฤติกรรม และทัศนคติการบริโภคปลาดิบและการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี.วารสารโรคมะเร็ง.2552.ฉบับที่4 ปีที่ 29;หน้า 162-175.
9. IARC. Infection with liver flukes (Opisthorchis viverrini, Opisthorchis felneus and Clonorchis sinensis). IARC Monog Eval Carcinog Risks Hum 1994; 61: 121-175.
10.สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านหลวง. แผน ยุทธศาสตร์สาธารณสุขอำเภอบ้านหลวง พ.ศ. 2547. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้าน หลวง จังหวัดน่าน. 2547.
11. เทพินทร์ คุณโลก. บริโภคนิสัยกับการเป็นโรค พยาธิใบไม้ในตับของประชาชนบ้านแม่ขานหลังถ้ำตำบลสองแคว อำเภอจอมทอง จังหวัด เชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมสุขภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2539.
12. Sukontason, K., Methanitikorn, R., Piangjai, S., & Choochote, W. Valiability of metacercariae in northern Thai traditional foods. Southeast AsianJournal of Tropical Medicine Public Health; 1998. 29 (4), p. 714 – 716. Philadelphia: Wolters kluwer. 2003.
13. บรรจบ ศรีภา พวงรัตน์ ยงวณิชย์ และชวลิต ไพโรจน์กุล. สาเหตุและกลไกการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี: ปฐมบทความสัมพันธ์กับพยาธิใบไม้ในตับ.ศรีนครินทร์เวชสาร.2548.ฉบับที่3 ปีที่ 20;หน้า 122-134.
14. ระวิศักดิ์ จันทร์วาสนา, วิษณุ ปานจันทร์, วีรวุฒิ อิ่ม สำราญ, สุพัตรา รักเอียด และอาคม ชัยวีระ วัฒนะ, แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี. กรุงเทพฯ(2559)